ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

“Quick Ratio” คืออะไร? เคล็ดลับคำนวณอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว

นักลงทุนหลายท่านอาจเคยได้ยินคำว่า “Quick ratio” หรือ “Acid test ratio” ผ่านหูมาบ้างแล้ว แต่เราเชื่อว่ายังมีอีกหลายท่านที่อาจไม่เคยได้ยินหรือยังไม่ทราบว่ามันคืออะไรกันแน่ เอาล่ะ! Quick ratio คือ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วที่คำนวณออกมาเพื่อใช้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของบริษัท รวมถึงความสามารถและความรับผิดชอบในการชำระหนี้นั่นเองครับ โดยมีองค์ประกอบสำคัญที่มาเกี่ยวข้องคือ “เงินปันผล” (Dividend) ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบเป็นเงินสด, เงินลงทุนในระยะสั้น, หลักทรัพย์ในตลาด และรายการเทียบเท่าเงินสดอื่นๆ เป็นต้น

None

นักลงทุนหลายท่านอาจเคยได้ยินคำว่า “Quick ratio” หรือ “Acid test ratio” ผ่านหูมาบ้างแล้ว แต่เราเชื่อว่ายังมีอีกหลายท่านที่อาจไม่เคยได้ยินหรือยังไม่ทราบว่ามันคืออะไรกันแน่ เอาล่ะ! Quick ratio คือ อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วที่คำนวณออกมาเพื่อใช้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของบริษัท รวมถึงความสามารถและความรับผิดชอบในการชำระหนี้นั่นเองครับ โดยมีองค์ประกอบสำคัญที่มาเกี่ยวข้องคือ “เงินปันผล” (Dividend) ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบเป็นเงินสด, เงินลงทุนในระยะสั้น, หลักทรัพย์ในตลาด และรายการเทียบเท่าเงินสดอื่นๆ เป็นต้น

ในบทความวันนี้ เราจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วแบบละเอียด หลักการและองค์ประกอบต่างๆ ของ Quick ratio รวมถึงวิธีการคำนวณอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว โดยท่านสามารถนำสูตรการคำนวณแบบง่ายๆ ไปใช้ได้จริง เพราะเรามีตัวอย่างการคำนวณ Quick ratio มาให้ท่านเห็นภาพมากยิ่งขึ้น

Quick Ratio หมายถึงอะไร?

อย่างที่เราได้บอกไปแล้วว่า “Quick ratio” เป็นรูปแบบการคำนวณอัตราส่วนที่ใช้ประเมินความสามารถของบริษัทในการจ่ายเงินลงทุนระยะสั้น หรือสินทรัพย์หมุนเวียนที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว (Quick asset) ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงนั่นเอง โดยองค์ประกอบสำคัญในการคำนวณอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว ได้แก่:

  1. เงินลงทุนระยะสั้น (Short-term investment)
  2. รายการเทียบเท่าเงินสด (Cash equivalent)
  3. ระบบบริหารบัญชีลูกหนี้ (Account receivable)
  4. หนี้สินหมุนเวียนของบริษัท (Current liabilities)

สูตรการคำนวณไม่มีอะไรซับซ้อนเลยครับ ท่านก็แค่นำผลรวมของข้อ 1, 2, 3 มาหารด้วยตัวเลขในข้อ 4

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

วิธีการประเมินอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว

จากสูตรด้านบนจะเห็นได้ว่าการคำนวณ Quick ratio นั้นไม่ยากเลยครับ ไม่ต้องมีความรู้หรือทักษะด้านการลงทุนมากมายก็สามารถคำนวณได้เอง โดยหากตัวเลขที่ได้จากการคำนวณมีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่าบริษัทนั้นมีสภาพคล่องในการจ่ายหนี้หมุนเวียนเป็น 0 ดังนั้น ท่านจะต้องระมัดระวังการลงทุนกับบริษัทดังกล่าวให้ดี

ในทางกลับกัน หากบริษัทมีอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วเท่ากับ 1 นั่นหมายความว่า ผลรวมของมูลค่าสินทรัพย์สภาพคล่องทั้งหมดเท่ากับสินทรัพย์หมุนเวียนของบริษัท ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีที่นักลงทุนจะเลือกลงทุนกับบริษัทดังกล่าว เนื่องจากบริษัทมีทุนมากเพียงพอที่จะรับผิดชอบต่อหนี้สินต่างๆ โดยไม่ต้องขายสินทรัพย์ระยะสั้น ทำให้สามารถเพิ่มอัตราการเติบโตและกระจายผลตอบแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว แต่ถ้าหากอัตรา Quick ratio มีค่ามากกว่า 1 แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน

ข้อควรรู้: หากอัตราส่วน Quick ratio ของบริษัทเพิ่มขึ้น สภาพคล่องก็จะเพิ่มตาม ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณที่ดีทั้งสำหรับนักลงทุนและผู้ให้สินเชื่อที่รอการชำระหนี้จากบริษัท แต่ในบางครั้งอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วที่สูงมากเกินก็อาจไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป เพราะมันอาจเป็นการบ่งบอกว่าเงินสดสะสมนั้นไม่มีการถูกนำไปหมุนเวียนเพื่อจ่ายหนี้, ลงทุน หรือใช้สำหรับวัตถุประสงค์อื่นๆ

ตัวอย่างอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว

สมมุติว่ามีบริษัทหนึ่งกำลังจะขอกู้ยืมเงินเพื่อนำไปขยายกิจการต่อ และหากท่านต้องการตรวจสอบและคำนวณอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วของบริษัทดังกล่าว ท่านจะต้องหาข้อมูลตัวเลขต่างๆ ดังนี้:

  • รายการเทียบเท่าเงินสด - $10,000
  • สินค้าคงคลัง - $2,000
  • ค่าภาษีล่วงหน้า - $500
  • ระบบบริหารบัญชีลูกหนี้ - $10,000
  • การลงทุนในหุ้น - $4,000
  • หนี้หมุนเวียนของบริษัท - $15,000

จะสามารถคำนวณได้ดังนี้: $10,000 + $2,000 + $500 + $10,000 + $4,000/$15,000 = 1.16

ผลการคำนวณอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็วที่ได้จะบ่งบอกความสามารถและสภาพคล่องของบริษัทในการชำระหนี้สินด้วยสินทรัพย์สภาพคล่องและสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว โดยมีสินทรัพย์เพียงพอและยังมีสินทรัพย์เหล่านั้นคงเหลืออยู่

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน