“Credit Default Swap” หรือ “CDS” เป็นหนึ่งใน รูปแบบอนุพันธ์ทางการเงิน (Derivatives) ที่นักลงทุนฝั่งซื้อ (Buyer) ใช้เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการโดนผิดนัดชำระหนี้ (Default) หรือความเสี่ยงด้านการเงินประเภทอื่นๆ โดยในวันนี้ เรามีตัวอย่างเหตุการณ์ Credit default swap ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 มาให้ท่านได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น โดยในปัจจุบัน CDS เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ระบุว่าผู้ขายจะต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยทั้งหมดให้ผู้ซื้อ รวมถึงจ่ายเงิน Premium หากผู้ออกสัญญามีการเบี้ยวหนี้
บทความวันนี้จะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจ Credit default swap แบบละเอียด พร้อมตัวอย่างที่สามารถนำไปปรับใช้ในตลาดการเงินได้จริง ที่สำคัญเราจะมาพูดถึงความเสี่ยงที่ควรระวังจากการใช้ Credit default swap โดยเฉพาะในมุมมองของผู้ซื้อ ถ้าพร้อมแล้ว ไปหาคำตอบพร้อมกันเลยครับ
เมื่อท่านซื้อสัญญา Credit Default Swap นั่นหมายความว่าท่านยินยอมที่จะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามระยะเวลาที่กำหนดจนกระทั่งเครดิตดังกล่าวถึงวันกำหนดไถ่ถอนหรือวันครบกำหนดอายุ ที่สำคัญ ตัวสัญญายังเป็นการระบุข้อตกลงว่าผู้ขายจะต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยทั้งหมด รวมถึงเงิน Premium ด้วยเช่นกันหากมีการผิดนัดชำระหนี้
เครื่องมือทางการเงินชนิดนี้เปรียบเสมือนหลักประกันที่ทำให้ผู้ซื้อสามารถควบคุมความเสี่ยงของตนเองได้โดยการจ่ายเงินค่าคุ้มครองตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเสียหายและสูญเสียเงินจำนวนมากได้
Blythe Masters เป็นผู้นำ CDS มาใช้ในตลาดการเงินเป็นครั้งแรกในปี 1994 แต่เครื่องมือนี้กลับเพิ่งมาได้รับความนิยมมากในปี 2008 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตทางการเงินและยังไม่มีสัญญาใดคุ้มครองหรือรองรับการ Swap นั่นเอง โดยในปีดังกล่าว CDS มีมูลค่าสูงถึง 62.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ไม่กี่ปีต่อมามูลค่ากลับลดลงกว่า 50% เลยทีเดียวครับ
นอกจากเป็นหลักประกันทางการเงินและป้องกันการสูญเสียเงินแล้ว นักลงทุนยังสามารถใช้ CDS เป็นตัวช่วยทำกำไรซึ่งเป็นจุดประสงค์หลักในการลงทุนได้อีกด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้น นักลงทุนอาจซื้อ Credit default swap เพื่อ:
ความเสี่ยงที่ชัดเจนของการใช้ CDS คือโอกาสที่ผู้ซื้อจะเบี้ยวหนี้นั่นเองครับ โดยหากผู้ซื้อมีการผิดสัญญา ผู้ขายก็ไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากหาผู้ซื้อรายใหม่หรือส่งต่อ CDS ให้คนอื่นดูแลต่อเพื่อเอาเงินลงทุนตั้งต้นกลับคืนมา แต่ก็แน่นอนว่าเมื่อราคา Credit default swap ใหม่นั้นมีราคาที่ถูกกว่า ผู้ขายก็ไม่สามารถขายเพื่อเอากำไรได้ แต่ต้องทำใจขายสัญญาเก่าในราคาที่ขาดทุน
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน