ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

ตราสารอนุพันธ์ (Derivative) คืออะไร? ทำความรู้จักอนุพันธ์แต่ละประเภทแบบละเอียด!

“ตราสารอนุพันธ์ หรือที่เรียกกันว่า Derivative คืออะไรกันแน่?” คำถามอันดับต้นๆ ที่นักลงทุนมือใหม่มักสงสัยเมื่อเริ่มเข้าตลาด Forex ใหม่ๆ หากจะพูดกันตามตรง ตราสารอนุพันธ์ คือ ตราสารการเงินที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีสินทรัพย์อ้างอิงที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นดัชนี, สินค้าโภคภัณฑ์ และคู่สกุลเงิน เป็นต้น และที่เรียกตราสารประเภทนี้ว่าอนุพันธ์ก็เพราะว่ามันมีมูลค่าที่อ้างอิงมาจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนของคู่เงินนั่นเองครับ โดยบ่อยครั้งเทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักจะเทรดคู่เงินมากกว่า 2 คู่ขึ้นไป

None

ตราสารประเภทนี้ยังเหมาะสำหรับนักเทรดเก็งกำไรที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงด้วยการ Hedge แล้วทำกำไรจากส่วนต่างของราคา รวมถึงการ Arbritrage ก็ได้เช่นกัน โดยในบทความวันนี้ เราจะมาอธิบายเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์ ว่าตราสารอนุพันธ์คืออะไร? มีที่มาที่ไปอย่างไร? และตราสารอนุพันธ์มีกี่ประเภท? ถ้าพร้อมแล้ว.. ไปดูกันเลย

ที่มาที่ไปของตราสารอนุพันธ์

ตราสารอนุพันธ์เริ่มใช้กันหลังจากที่องค์กรการเงินเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods Agreement) เริ่มบังคับให้หลายประเทศเปลี่ยนไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Float exchange rate) ซึ่งส่งผลกระทบเล็กน้อยต่ออัตราดอกเบี้ย และเป็นเหตุให้ตลาดตกอยู่ในสภาวะความเสี่ยงที่มากขึ้น เนื่องจากมีเงินทุนไหลเข้า (Capital inflow) และอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นนั่นเอง เป็นจุดเริ่มต้นให้ตลาดการเงินระหว่างประเทศออกมาป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ที่ลงทุนในสกุลเงินตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ตราสารอนุพันธ์บูมมากเลยทีเดียว

ตราสารอนุพันธ์เป็นที่นิยมมากขึ้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในอาร์เจนตินา และวิกฤตการณ์ทางการเงินของเอเชียในช่วงปี 1990 และ 2000 อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าตราสารอนุพันธ์นั้นมาพร้อมกับความเสี่ยงในการลงทุนที่อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ถึงอย่างนั้นเราก็สามารถลงทุนได้อย่างปลอดภัย หากรู้จักใช้เครื่องมือตัวช่วยในการซื้อขายเพื่อเพิ่มเทคนิคในการลงทุนนั่นเอง

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ประเภทของตราสารอนุพันธ์

เมื่อลงทุนในตลาดซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา เทรดเดอร์จะต้องรู้จักประเภทของตราสารอนุพันธ์หลักๆ ซึ่งได้แก่:

  • สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward contract) – หนึ่งในเทคนิคการลงทุนล่วงหน้าระยะยาว และเป็นอีกหนึ่ง กลยุทธ์การเทรด Forex ที่นักเทรด Forex นิยมใช้กัน โดยท่านจะสามารถแลกเปลี่ยนค่าเงินได้ตามสัญญาข้อตกลงที่มีการระบุวันเวลาเอาไว้ล่วงหน้า พูดง่ายๆ ก็คือสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเป็นการกำหนดค่าอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้จนกระทั่งถึงวันที่ออเดอร์จะมีผล โดยสัญญานั้นสามารถตั้งได้ตามกรอบเวลา (Timeframe) ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวัน, สัปดาห์, เดือน หรืออาจเป็นปีเลยก็ได้
  • สัญญาซื้อขายฟิวเจอร์ส (Future contract) – เป็นอนุพันธ์ประเภทหนึ่งที่คล้ายกับ Forward contract นั่นแหละครับ มีข้อแตกต่างกันไม่มาก แต่ที่ชัดเจนเลยก็คือเป็นอนุพันธ์ที่มีมาตรฐานมากกว่าเมื่อเทียบกับอนุพันธ์ประเภทก่อนหน้า โดย Timeframe ส่วนใหญ่ที่มักใช้กันอยู่ที่ 3 เดือน และจะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าในสัญญา แต่ก็สามารถใช้ซื้อขายรายวันได้เช่นกัน แล้วสัญญาประเภทนี้เหมาะกับใคร? สัญญาซื้อขายฟิวเจอร์สเหมาะสำหรับนักเทรดที่พร้อมรับความเสี่ยงที่มากขึ้น แต่ก็มีอัตราผลตอบแทน (ROI) ที่สูงขึ้นมากเช่นเดียวกัน 
  • ออปชั่น (Option) – อนุพันธ์ชนิดนี้เป็นสิทธิ์ตัวเลือกในการ “ซื้อ (Call)” และ “ขาย (Put)” โดยคำสั่ง Call ก็เปรียบเสมือนการตั้งออเดอร์ Buy ในขณะที่คำสั่ง Put เป็นการตั้งออเดอร์ Sell นั่นเองครับ ซึ่งถ้าหากเทรดเดอร์ต้องการที่จะเปิดออเดอร์ Long หรือ Buy (Call) ท่านจะต้องซื้อสินทรัพย์ที่ราคาต่ำกว่าราคาปัจจุบัน และในทางกลับกัน หากท่านต้องการเปิดออเดอร์ Short ท่านจะต้องขายสินทรัพย์ให้ได้ราคาสูงที่สุด
  • สวอป (Swap) – เป็นอนุพันธ์ที่ใช้ทำกำไรในตลาดการเงินได้โดยการทำสัญญาแลกเปลี่ยนกระแสเงินสด โดยอ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นักเทรดสายสวอปต้องติดตาม ซึ่งในปัจจุบันบริษัทและผู้ให้บริการทางการเงินต่างๆ มักเลือกใช้อนุพันธ์แบบสวอปเพื่อรับผลประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่น้อยลง

สรุปง่ายๆ เกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์

เอาล่ะ! เราคิดว่าทุกท่านคงพอเข้าใจแล้วว่าตราสารอนุพันธ์นั้นมีประเภทไหนบ้าง สิ่งต่อมาที่ท่านควรรู้และระมัดระวังอยู่เสมอ นั่นก็คือความเสี่ยงของการลงทุนในตลาด Forex นั่นเอง เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยน Forex นั้นมีความผันผวนที่ท่านอาจคาดไม่ถึง ซึ่งอาจส่งผลต่อมูลค่าของบริษัทต่างๆ ในตลาด ดังนั้น ท่านจะเห็นได้ว่าอนุพันธ์มีความเกี่ยวของกับสภาวะความเสี่ยงทางเศรษฐกิจมากๆ เราจึงขอแนะนำให้ท่านรู้จักใช้เครื่องมือการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม และอย่าลืมฝึกฝนกลยุทธ์การเทรดของท่านด้วย บัญชีเดโม่ แบบไร้ความเสี่ยง ซึ่งช่วยให้ท่านพัฒนาฝีมือในการเทรดได้โดยไม่ต้องกังวลว่าเทรดขาดทุนแล้วจะเสียเงินจริงๆ แล้วมาเตรียมความพร้อมในการเทรดทำกำไรจริงกัน!

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน