ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

กับดักหมี (Bear Trap) คืออะไร? จะหลีกเลี่ยงกับดักหมีอย่างไร?

นักเทรดฝั่งขาลง (Bear) มักมองหาโอกาสทำกำไรจากการซื้อสินทรัพย์เมื่อราคาสินทรัพย์นั้นๆ มีการปรับตัวลง อย่างไรก็แล้วแต่ การติด “กับดักหมี” (Bear trap) หรือกับดักขาลงเป็นเรื่องที่ควรระวังเนื่องจากอาจทำให้ท่านเทรดขาดทุนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน โอกาสที่ท่านจะติดกับดักนี้เป็นไปได้ง่ายมากๆ เนื่องจากตลาดมักผันผวนหนักแบบไม่ทันตั้งตัว ทำให้ยากที่จะคาดการณ์ได้ว่าราคาจะลงไปแตะระดับต่ำสุดก่อนหน้าหรือจะย่อลงไปมากกว่านั้น

None

ในบทความวันนี้ เราจะมาพูดถึงสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการติดกับดักหมีในตลาดหุ้น รวมถึงวิธีป้องกันการติดกับดักดังกล่าว และอธิบายความแตกต่างระหว่างกับดักหมี (Bear trap) และกับดักกระทิง (Bull trap) อย่างละเอียด

ทำความรู้จักกับดักหมีในตลาดหุ้น

กับดักหมี หรือที่เรียกว่าอีกอย่างว่าแพทเทิร์นกับดักหมี (Bear trap pattern) หมายถึง จังหวะที่ราคาสินทรัพย์ปรับตัวลงแบบไม่คาดคิด ทำให้นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่เป็นนักขายชอร์ต (Short sell) ไปโดยปริยาย ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ตามมากลับกลายเป็นว่าราคามีการกลับตัวขึ้นแทน ทำให้ฝั่งขายชอร์ตขาดทุนจากคำสั่งขายที่เปิดไว้ เนื่องจากราคามีการปรับตัวขึ้น สุดท้ายอาจจบลงด้วยการโดนมาร์จิ้นคอล (Margin call) ในที่สุด โดยวิธีการที่จะป้องกันความผิดพลาดนี้ นักลงทุนบางท่านอาจยืมหุ้นเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับคำสั่งซื้อขายก่อนหน้า ซึ่งในความเป็นจริงอาจนำไปสู่การเกิดหนี้สินที่มากยิ่งขึ้น

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ข้อควรรู้: โปรดอย่ามองข้าม เพราะกับดักหมีมักเป็นโอกาสทำกำไรในระยะสั้น เนื่องจากแพทเทิร์นนี้มีความสำคัญในเชิงกราฟเทคนิค หรือกลยุทธ์การเทรดขาลงนั่นเอง ซึ่งอาจไม่เหมาะกับนักลงทุนที่ชอบกลยุทธ์การซื้อหรือถือในระยะยาว

กับดักกระทิง (Bull Trap) vs กับดักหมี (Bear Trap) อธิบายข้อแตกต่างอย่างละเอียด!

เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับหลักการกับดักหมีได้ดียิ่งขึ้น เราต้องเข้าใจข้อแตกต่างระหว่างกับดักหมีและกับดักกระทิง เพื่อที่จะได้ทราบสาเหตุหลัก คุณลักษณะ และปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถช่วยคุณกำหนดสภาวะตลาดที่เฉพาะเจาะจงได้

“กับดัก” ทั้งสองมีลักษณะคล้ายๆ กัน เนื่องจากเป็นกับดักที่ส่งสัญญาณหลอกและทำให้นักเทรดเข้าใจผิดว่าราคาจะมีการปรับตัวขึ้นหรือลงอย่างต่อเนื่อง แต่ในความเป็นจริงอาจมีการเคลื่อนที่สวนทิศทางที่คาดเอาไว้ ทำให้นักลงทุนโดนมาร์จิ้นคอลและขาดทุนมหาศาล

อย่างไรก็ตาม กับดักทั้ง 2 แบบมีข้อแตกต่าง ดังนี้:

  1. กับดักหมี (Bear Trap) เทรนด์มีการกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลง โดยราคาอาจย่อลงไปแตะระดับ Low หรือแนวรับสำคัญ (ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าราคาจะกลับตัวลงต่อเนื่อง) แต่จู่ๆ ราคากลับปรับตัวขึ้น
  2. กับดักกระทิง (Bull Trap) เมื่อราคาดิ่งลงอย่างหนัก แล้วมีการกลับตัวขึ้นหลังจากนั้นซึ่งเป็นสัญญาณหลอกว่าราคาจะปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนเข้าซื้อ (Long buy) แต่หลังจากนั้นราคาอาจมีการกลับตัวลง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดกับดักหมี

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว หลักการของกับดักหมีไม่ใช่เพียงแค่ราคาปรับลงอย่างกะทันหันเท่านั้น แต่ยังมีการย่อลงทะลุแนวรับสำคัญอีกด้วย ทำให้นักลงทุนหลายๆ ท่านติดกับดักในระหว่างการปรับตัวลง เมื่อจู่ๆ ราคากลับมีการปรับตัวขึ้น

สาเหตุอาจมาจาก:

  • ราคาปรับตัวลงและดิ่งทะลุแนวรับสำคัญ
  • เทรดเดอร์รีบเปิดออเดอร์ขายทันที
  • ราคาอาจอยู่ใต้แนวรับเพียงไม่นาน จากนั้นก็มีการปรับตัวขึ้นต่อ

วิธีหลีกเลี่ยงกับดักหมี

ทางเดียวที่จะป้องกันการติดกับดักหมีได้คือเทรดเดอร์ไม่ควรตั้งคำสั่งซื้อขายตามนักเทรดส่วนใหญ่ในตลาด โดยมีทริคง่ายๆ ที่จะป้องกันกับดักหมีได้ ดังนี้:

  • หากตลาดมีปริมาณการซื้อขายหรือวอลุ่มต่ำ (อาจใช้อินดิเคเตอร์บอกวอลุ่มเป็นตัวช่วย) ท่านไม่ควรขายชอร์ตในทันที เนื่องจากเมื่อตลาดมีวอลุ่มต่ำ มีโอกาสสูงที่ท่านจะติดกับดักหมี ดังนั้น อย่าเพิ่งรีบตั้งออเดอร์ขายตามนักเทรดคนอื่นๆ ในตลาดโดยเด็ดขาด
  • ใช้กลยุทธ์การเทรดแบบอื่นๆ หรือลองใช้เทคนิคการเทรดที่ไม่เหมือนกับนักลงทุนรายอื่นๆ ในตลาด

เลือกใช้เทคนิคและอินดิเคเตอร์ที่มีความครอบคลุม ตัวอย่างเช่น เครื่องมือ Fibonacci ที่มีประโยชน์ในการบอกระดับแนวรับ-แนวต้าน

สรุปสั้นๆ เกี่ยวกับกับดักหมี

การติดกับดักหมีหรือกับดักขาลง เกิดจากการที่นักเทรดหวังจะทำกำไรด้วยการเปิดคำสั่งขายตามราคาที่มีการปรับตัวลง ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่ก็มักจะเปิดคำสั่งขายชอร์ตเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วตลาดอาจมีการกลับตัวขึ้นและทำให้นักเทรดที่เปิดคำสั่งขายเอาไว้ขาดทุนในที่สุด

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน