เราเชื่อว่าเป้าหมายในการเทรดของเทรดเดอร์หลายๆ ท่านคือการเทรดให้ขาดทุนน้อยที่สุดโดยการใช้เครื่องมือในการจัดการบริหารความเสี่ยงต่างๆ เพื่อป้องกันโอกาสในการสูญเสียเงินทุนของท่านและทำให้ท่านสามารถเข้าและออกจากตลาดได้โดยไร้ความเสี่ยง การตั้ง Stop loss ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือยอดนิยมที่เหล่านักเทรดมักใช้ในการจัดการความเสี่ยงนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนอาจเลือกวิธีการตั้ง stop loss ได้หลายๆ แบบ ซึ่งอาจทำให้เทรดเดอร์มือใหม่ที่เพิ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการเทรดสับสนไม่น้อยว่าการตั้งจุดตัดขาดทุน หรือ Stop limit เอง และการตั้งจุดหยุดขาดทุนตามสภาวะตลาด หรือ Stop loss market นั้นต่างกันอย่างไร เอาเป็นว่ารูปแบบการตัดขาดทุนทั้ง 2 นั้นมีเป้าหมายในการหยุดการขาดทุนแบบเดียวกัน เพียงแต่ว่ารูปแบบในการใช้งานนั้นแตกต่างกันเล็กน้อยก็เท่านั้นเองครับ โดยหากเทรดเดอร์ต้องการใช้เทคนิคเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันการเทรดขาดทุนได้จริงๆ ท่านจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการตั้ง stop loss ทั้ง 2 แบบ ซึ่งจะช่วยให้ท่านตัดสินใจได้ว่าวิธีตั้ง stop loss แบบใดที่เหมาะสมกับรูปแบบการเทรดของท่าน และทำไมท่านจึงควรตั้ง stop loss เช่นนั้น
หากท่านเคยมีประสบการณ์ในการตัดขาดทุนจากออเดอร์เทรดมาก่อน ท่านอาจเข้าใจ stop loss market ได้ไม่ยากเลยครับ โดยออเดอร์ stop loss ตามสภาวะของตลาดนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ออเดอร์ Buy (buying) และออเดอร์ Sell (selling)
เทคนิค stop loss ทั้ง 2 แบบนั้นมีประโยชน์ในการลดการขาดทุนเหมือนกัน โดยท่านอาจเลือกใช้ทั้ง 2 เทคนิคร่วมกันเพื่อป้องกันการเทรดขาดทุนก่อนที่ท่านจะเปิดออเดอร์เทรดไม่ว่าจะ short หรือ long ก็ตาม
สาเหตุที่มือใหม่หัดเทรดมักสับสนว่าความแตกต่างระหว่าง stop limit และ stop loss market คืออะไรกันแน่ นั่นก็เพราะว่าจริงๆ แล้วทั้ง 2 เทคนิคนั้นแทบไม่ต่างกันเลยนั่นเองครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการตั้ง stop loss ทั้ง 2 แบบจะเหมือนกันเสียทีเดียว สำหรับการตั้ง stop loss limit จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ:
การตั้ง stop loss limit มีข้อเสียตรงที่ว่ารูปแบบดังกล่าวไม่ได้การันตีการดำเนินการแบบ 100% นั่นหมายความว่าในบางครั้งเมื่อราคาหุ้นพุ่งขึ้นหรือร่วงลงอย่างรวดเร็ว stop limit อาจไม่ได้ทำงานจริงตามที่ท่านคาดหวังไว้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวท่านอาจต้องใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงชนิดอื่นแทน
อีกหนึ่งคำถามที่เทรดเดอร์มือใหม่มักสงสัยก็คือเมื่อราคาหุ้นร่วงต่ำกว่าระดับ limit ควรทำอย่างไร? ควรยกเลิกออเดอร์ limit หรือรอให้ราคาแตะระดับต่ำสุด?? ในกรณีนี้ เทรดเดอร์มีแนวโน้มที่จะพลาดจังหวะในการป้องกันการเทรดขาดทุนและการปิดออเดอร์เพื่อป้องกันการขาดทุน และในขณะเดียวกันเทรดเดอร์บางรายอาจไม่ต้องการขายสินทรัพย์ที่ถืออยู่ ณ ราคา limit ที่ตั้งไว้ เนื่องจากพวกเขาอาจสังเกตได้ว่าราคาอาจเกิดการกลับตัวในไม่ช้า
ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้การตั้ง stop loss limit อาจเป็นเทคนิคที่มีความเสี่ยงสำหรับนักเทรดที่ต้องการจะขาย short ในขณะที่เฝ้าระวังให้ราคาพุ่งขึ้นไปด้วยความเสี่ยง
ลองมาดูตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง stop limit และ stop loss market แบบชัดๆ กันดีกว่าครับ
Stop Loss Market
Stop Limit
ดำเนินการเมื่อราคาแตะระดับ low หรือร่วงลงต่อเนื่อง
ป้องกันการขาดทุนที่มากขึ้นในระหว่างการเทรด
ดำเนินการเมื่อราคาแตะระดับ limit แต่ยังคงออเดอร์ไว้ที่ระดับดีกว่า limit
ไม่สามารถการันตีการป้องกันการเทรดขาดทุนได้ 100%
อาจมีการเทรดขาดทุนได้มากกว่าที่คาดไว้
ใช้ได้ผลดีหากเทรดเดอร์รู้ว่าราคาจะเด้งกลับและเริ่มวิ่งขึ้นในไม่ช้า
ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่าง stop limit และ stop loss market ก็คือวิธีป้องกันการเทรดขาดทุนที่ต่างกันในระหว่างการเปิดและปิดออเดอร์ โดยข้อดีก็คือทั้ง 2 เทคนิคนั้นเหมาะสำหรับใช้เทรดระยะสั้นและระยะยาวเลยทีเดียวครับ แต่ทั้งนี้รูปแบบการตัดขาดทุนแบบ stop loss limit มีข้อเสียตรงที่ว่ามันไม่ได้ยืนยันการป้องกันการขาดทุนแบบ 100% เว้นเสียแต่ว่าเทรดเดอร์มั่นใจว่าราคาจะมีการเด้งกลับในไม่ช้านั่นเอง
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน