นักเทรดที่รู้วิธีการตั้งออเดอร์ Stop loss สามารถป้องกันการเทรดขาดทุนได้ เนื่องจาก “Stop loss” หรือ “จุดตัดขาดทุน” เป็นเครื่องมือการซื้อขายที่ช่วยออกออเดอร์อัตโนมัติเมื่อราคาไปถึงระดับต่างๆ ที่เทรดเดอร์กำหนดเอาไว้ ซึ่งจากบทความที่ผ่านมา เราได้พูดคุยกันไปแล้วว่า Stop loss คืออะไร? จะต้อง Stop loss ตรงไหนดี? แต่ในบทความวันนี้ เราจะมาพูดถึงขั้นตอนการตั้ง Stop loss แบบละเอียดทุกขั้นตอน! พร้อมเทคนิคในการตั้ง Stop loss เพื่อป้องกันการเทรดขาดทุน
ที่สำคัญเราจะมาอธิบายข้อดี-ข้อเสียของการใช้ Stop loss รวมถึงการหาจังหวะที่ดีที่สุดในการตั้ง Stop loss ร่วมกับกลยุทธ์การเทรดที่ท่านใช้ โดยท่านจะได้เรียนรู้และทำความรู้จักสถานการณ์จริงที่ควรตั้งออเดอร์ตัดขาดทุนเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้จากตลาดที่วิ่งสวนทางกับการเทรดของท่าน
เทรดเดอร์สามารถตั้งออเดอร์ Stop loss ได้หลายแบบ ใช้ได้หลากหลายกลยุทธ์ ขึ้นอยู่กับเทคนิคและเป้าหมายการเทรดของท่าน แต่ไม่ว่าท่านจะเป็นนักเทรดรายวันหรือเทรดเดอร์สายลงทุนระยะยาวก็ตาม สิ่งสำคัญที่ท่านต้องทำอันดับแรก คือ การวางหน้าเทรด (Trade setup) โดยเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจพื้นฐานการเทรดให้ดีเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่น ความแตกต่างระหว่างออเดอร์ Stop loss ณ ราคาตลาด และออเดอร์ Stop limit พร้อมทั้งเข้าใจวิธีการตั้งออเดอร์เหล่านั้น ขั้นต่อมา คือ การนำความเข้าใจไปปรับใช้กับตราสารต่างๆ ที่ท่านสนใจจะลงทุน
ตัวอย่าง: นักเทรดควรตั้งออเดอร์โดยพิจารณาจากกรอบเวลา (Timeframe) ต่างๆ โดยหากออเดอร์ที่ตั้งไว้ไม่ออกภายในระยะเวลาที่กำหนด ออเดอร์เหล่านั้นจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ
การตั้งออเดอร์รายวันเป็นหนึ่งในเทคนิคที่เป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถปิดคำสั่งซื้อขายได้ภายในวันเดียวจากการตั้งออเดอร์ Stop loss แบบวันต่อวัน หรือเทรดเดอร์อาจใช้วิธีการตั้งออเดอร์แบบ GTC (หรือ “Good till canceled”) ก็ได้เช่นกัน โดยกลยุทธ์นี้เหมาะสำหรับกลยุทธ์การเทรดแบบระยะยาวตั้งแต่ 30 หรือ 60 วัน ซึ่งมีข้อดีตรงที่ว่านักเทรดไม่จำเป็นต้องตั้งออเดอร์ตัดขาดทุนใหม่หลายๆ ครั้ง
เทคนิคต่อมา คือ การตั้งออเดอร์ Stop loss จากการคำนวณราคาในตลาดโดยใช้รูปแบบกราฟหรือกราฟแพทเทิร์นหลายๆ แบบ เพื่อสังเกตราคาสินทรัพย์แต่ละตัว ณ ช่วงเวลาต่างๆ ว่าหุ้นตัวไหนกำลังทำราคา High และสินทรัพย์ใดกำลังทำราคา Low ในช่วงเวลาดังกล่าว จากนั้นก็ทำการคำนวณราคาเฉลี่ย (Average price) แล้วตั้ง Stop loss ณ ระดับราคาประมาณ 4-7% จากกลางเส้นเทรนด์ไลน์
เพื่อให้เข้าใจเทคนิคนี้ได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น เราขอแนะนำให้นักเทรดมือใหม่ลองหาหนังสือดีๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์กราฟเทคนิคมาอ่าน ที่จะมีการอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับการคำนวณราคาและการใช้เครื่องมือเชิงเทคนิคหลายๆ ประเภท พร้อมติดตามประสบการณ์การเทรดจริงจากนักลงทุนมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จในตลาดการเงินการลงทุน
เอาล่ะ! ได้เวลามาตั้งออเดอร์ Stop loss กันแล้ว โดยวิธีการตั้งออเดอร์ Stop loss มีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้:
หลังจากที่ท่านตั้งออเดอร์ Stop loss เรียบร้อยแล้ว ก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงอีกต่อไป โบรกเกอร์ที่ท่านใช้บริการจะดูแลการออกออเดอร์ให้อัตโนมัติตามคำสั่งที่ท่านได้ตั้งเอาไว้ล่วงหน้า (ตามราคาและ Timeframe ที่ท่านเลือก) โดยถ้าหากราคาไม่เข้าเงื่อนไขตามที่ท่านตั้ง ออเดอร์ตัดขาดทุนก็จะไม่มีผลใดๆ ครับ
นอกจากทำความเข้าใจวิธีตั้งออเดอร์ Stop loss แล้ว นักเทรดควรระวังข้อผิดพลาดต่างๆ จากการตั้งออเดอร์ Stop loss ที่อาจทำให้ท่านขาดทุนได้เช่นกัน ซึ่งเราเชื่อว่าเทรดเดอร์มือใหม่ส่วนใหญ่มักจะต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านี้เมื่อเริ่มเทรดใหม่ๆ นั่นก็คือการขายเพื่อป้องกันการขาดทุน ทั้งที่ยังไม่ได้กำไรใดๆ จากการลงทุนนั้นแม้แต่น้อย โดยวิธีหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเหล่านั้น ได้แก่:
การตั้ง Stop loss เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การเทรดดีๆ ที่ทำให้ท่านไม่ต้องคอยกังวลและนั่งเฝ้าหน้าจอทั้งวัน เนื่องจากเมื่อท่านตั้ง Stop loss เอาไว้ ระบบจะปิดคำสั่งซื้อขายให้โดยอัตโนมัติ เมื่อราคาวิ่งไปถึงระดับที่ส่อแววว่าท่านอาจเทรดขาดทุน ที่สำคัญการตั้งออเดอร์ Stop loss เป็นเครื่องมือการเทรดที่ไม่มีค่าใช้จ่ายแม้แต่บาทเดียว สามารถตั้งได้ง่ายๆ บนโปรแกรมเทรด MT4 ที่ทุกท่านรู้จักกันเป็นอย่างดี โดยโบรกเกอร์ผู้ให้บริการอาจมีการเก็บค่าคอมมิชชั่นจากการปิดออเดอร์เท่านั้น หรือมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมเมื่อออเดอร์ Stop loss กลายเป็นคำสั่งตลาดแทน
อย่างไรก็ดี การตั้งออเดอร์ Stop loss ก็อาจไม่ได้การันตีความปลอดภัยในการลงทุนเทรดเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตลาดร่วงอย่างรุนแรง เนื่องจากการตั้งออเดอร์ Stop loss อาจไม่สามารถใช้ได้กับตราสารบางอย่าง เช่น หลักทรัพย์ (Securities) เป็นต้น ดังนั้น นักเทรดจะต้องพิจารณาการลงทุนของท่านให้ดีทุกครั้งก่อนตัดสินใจลงทุน
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน