ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

5 ประเภทคำสั่งซื้อขายหุ้น อธิบายแบบละเอียด!

โดยทั่วไป ประเภทการเทรดหุ้นขึ้นอยู่กับรูปแบบคำสั่งซื้อขายหุ้น โดยหลังจากเลือกโบรกเกอร์ผู้ให้บริการเรียบร้อยแล้วหลายท่านอาจต้องการเริ่มต้นเทรดหุ้นทันที แต่ก่อนจะเริ่มเทรดหุ้น ท่านจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับประเภทคำสั่งซื้อขายหุ้นให้ดีเสียก่อน รวมถึงสถานการณ์ตลาดและสภาวะต่างๆ ในตลาดซึ่งก็จะต้องใช้ประเภทคำสั่งซื้อขายหุ้นที่แตกต่างกันออกไป

None

ในบทความวันนี้ เราจะมารีวิวคำสั่งซื้อขายหุ้น 6 ประเภทหลัก พร้อมอธิบายว่าคำสั่งแต่ละประเภทเหมาะกับสถานการณ์ตลาดแบบใดบ้าง

คำสั่งซื้อขายหุ้นมีประเภทไหนบ้าง?

ประเภทคำสั่งซื้อขายหุ้นแตกต่างกันไปตามสภาวะตลาด รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ในตลาด หากอยากทราบว่าคำสั่งซื้อขายหุ้นแบบใดเหมาะกับท่านมากที่สุด ท่านจะต้องเข้าใจตลาดโดยการวิเคราะห์ตลาดแบบละเอียด รวมถึงข่าวสารและเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่อราคาหุ้น โดยประเภทคำสั่งซื้อขายหุ้นที่เรามาแนะนำในวันนี้ขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวในตลาด ได้แก่:

1. คำสั่งตลาด (Market Order)

คำสั่งตลาดเป็นประเภทคำสั่งซื้อขายหุ้นที่เข้าใจง่ายและนิยมใช้กันมากที่สุด โดยนักเทรดจะใช้คำสั่งประเภทนี้เมื่อต้องการซื้อหรือขายหุ้นจำนวนหนึ่ง ณ ราคาปัจจุบันในตลาด ซึ่งในบางครั้งราคาซื้อหรือขายจริงอาจแตกต่างจากราคาที่ท่านดูไว้ในตอนแรกบ้างเล็กน้อย เนื่องจากราคามีการคลาดเคลื่อนได้ตลอดเวลา

2. คำสั่งลิมิต (Limit Order)

คำสั่งประเภทนี้ช่วยให้นักเทรดสามารถจำกัดราคาที่ท่านต้องการซื้อหรือขายหุ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดราคาสูงสุดหรือต่ำสุด โดยคำสั่งประเภทนี้จะแตกต่างจากคำสั่งตลาด เนื่องจากบางครั้งคำสั่งอาจไม่ถูกดำเนินการตามที่ท่านกำหนดไว้

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

แต่ก่อนที่ท่านจะต้อง Limit order มี 3 สิ่งที่ท่านต้องทำความเข้าใจ ได้แก่:

  1. มีโอกาสที่ราคาหุ้นอาจวิ่งขึ้นหรือลงไปไม่ถึงระดับลิมิตสูงสุดหรือต่ำสุดที่ท่านกำหนดเอาไว้ นั่นหมายความว่าออเดอร์นั้นๆ จะไม่ถูกดำเนินการนั่นเอง
  2. ความผันผวนหรือคลาดเคลื่อนของราคาอาจทำให้ท่านพลาดการออกออเดอร์ได้ เนื่องจากราคาอาจเคลื่อนต่ำกว่าหรือเหนือกว่าระดับที่ท่านระบุ แต่ในปัจจุบัน โบรกเกอร์ออนไลน์หลายเจ้าได้พัฒนาระบบการดำเนินการคำสั่งซื้อขายที่รวดเร็ว ที่ทำให้ท่านสามารถออกออเดอร์ได้ทันที เป็นเหตุผลว่าทำไมนักเทรดจะต้องเลือกแพลตฟอร์มหรือผู้ให้บริการที่มีระบบที่รวดเร็ว
  3. คำสั่งซื้อขายอาจถูกดำเนินการโดยอัตโนมัติทันทีที่ราคาไปถึงระดับที่กำหนดไว้ โดยในบางครั้งออเดอร์ของท่านอาจถูกดำเนินการโดยไม่ทันตั้งตัว

3. คำสั่ง All-or-None

All-or-None order หรือ AON order เป็นประเภทคำสั่งซื้อขายที่จะป้องกันการออกคำสั่งซื้อขายเพียงบางส่วนของออเดอร์ทั้งหมด (ในกรณีที่นักลงทุนต้องการซื้อหรือขายหุ้นจำนวนมากของบริษัทต่างๆ) โดยคำสั่งประเภทนี้จะช่วยให้ท่านได้ซื้อหรือขายคำสั่งทั้งหมด ณ ราคาเดียวกัน แต่ก็มีโอกาสที่คำสั่งซื้อขายอาจไม่สมบูรณ์หากมีจำนวนหุ้นไม่เพียงพอให้ซื้อหรือขาย

4. คำสั่ง Immediate หรือ Cancel

Immediate or Cancel order หรือ IOC เป็นประเภทคำสั่งซื้อขายหุ้นที่ช่วยให้คำสั่งซื้อขายสมบูรณ์เมื่อนักเทรดต้องการซื้อขายเพียงบางส่วนจากคำสั่งทั้งหมด โดยสถานการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นเมื่อบริษัทไม่มีหุ้นเหลือสำหรับการซื้อ ทำให้ไม่สามารถตั้งราคาลิมิตหรือราคาที่ดีกว่านั้นได้ เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น คำสั่งที่เหลือก็จะถูกยกเลิก

5. คำสั่ง Stop

หลายคนมักจะสับสนระหว่างคำสั่ง Stop (Stop order) และคำสั่ง Stop limit (Stop limit order) เนื่องจากคำสั่งทั้งสองจัดอยู่ในประเภทคำสั่ง Stop-loss นั่นเอง ซึ่งในความเป็นจริงทั้งสองคำสั่งนั้นมีความแตกต่างกัน โดยเทคนิคนี้จะใช้เมื่อนักเทรดต้องการล็อกเป้ากำไรเอาไว้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการซื้อขายเนื่องจากสามารถเปลี่ยนคำสั่ง Stop เป็นคำสั่งตลาดได้เมื่อราคาไปถึงระดับที่กำหนดไว้นั่นเอง ข้อดีก็คือคำสั่งนี้จะถูกดำเนินการทันทีไม่ว่าสภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร แต่ข้อเสียก็คือบางครั้งท่านอาจไม่รู้เลยว่าราคาหุ้นตอนนั้นเป็นอย่างไร

สรุปเกี่ยวกับคำสั่งซื้อขายหุ้น

เอาล่ะ ประเภทคำสั่งซื้อขายหุ้นที่เรานำมารีวิวในวันนี้เป็นเพียงบางส่วนของประเภทคำสั่งทั้งหมด แต่ก็เพียงพอที่จะช่วยให้นักเทรดเลือกประเภทคำสั่งเพื่อนำไปใช้เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือหรือกลยุทธ์ในสภาวะต่างๆ ได้ ที่สำคัญคือนักเทรดจะต้องเข้าใจว่าตลาดหุ้นมีลักษณะความเคลื่อนไหวอย่างไร เพื่อให้สามารถเลือกประเภทคำสั่งที่เหมาะกับจังหวะนั้นๆ ได้ และเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีนั่นเอง

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน