การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental analysis) เป็นเทคนิคเฉพาะที่ช่วยให้นักเทรดสามารถประเมินมูลค่าหุ้นที่แท้จริง โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ตามสถานการณ์ทั่วไป เช่น เหตุการณ์สำคัญต่างๆ, งบการเงิน และแนวโน้มอุตสาหกรรม เป็นต้น นักเทรดจะใช้เครื่องมือวิเคราะห์พื้นฐานที่หลากหลายโดยมีเป้าหมายเพื่อระบุลักษณะความเคลื่อนไหวของบริษัท เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของมูลค่าหุ้น
ในบทความวันนี้ เราจะมาพูดถึงวิธีการวิเคราะห์พื้นฐาน ความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค รวมถึงเครื่องมือที่ท่านต้องใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
พูดให้เข้าใจง่ายๆ ปัจจัยพื้นฐานจะเป็นตัวชี้แจงคุณลักษณะสำคัญของบริษัทหรือองค์กรที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยการคำนึงถึงปัจจัยทางจุลภาคและเศรษฐกิจมหภาคในหลายๆ แง่มุม ทำให้นักลงทุนมีโอกาสที่จะเห็นข้อมูลสำคัญถึง 3 มุมได้แก่:
หากท่านสนใจที่จะวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับหุ้น ท่านจะต้องคำนึงถึงปัจจัยและองค์ประกอบที่สัมพันธ์กับหุ้นอย่างละเอียด อาทิ:
ปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดพื้นฐานที่ช่วยให้ท่านวิเคราะห์ผลที่อาจตามมาได้ โดยหากผลกระทบเป็นเชิงลบ ราคาหุ้นก็มีแนวโน้มจะลดลง แต่หากหุ้นมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวขึ้นเมื่อมีข้อมูลเชิงบวก ก็เป็นสัญญาณที่ราคาหุ้นจะฟื้นตัวหรือมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้น
จากประเภทเครื่องมือวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหลายๆ ประเภท มีเครื่องมือ 2 ประเภทหลักๆ ที่นักลงทุนควรสนใจ ได้แก่:
การวิเคราะห์เชิงปริมาณเป็นประเภทการวิเคราะห์ที่ต้องอาศัยตัวเลขล้วนๆ โดยชุดเครื่องมือวิเคราะห์พื้นฐานประเภทนี้จะครอบคลุมถึงงบการเงิน หุ้น และราคาหุ้น รวมถึงการสังเกตและติดตามคู่แข่ง เป็นต้น
การประเภทนี้จะครอบคลุมสาขาวิชาต่างๆ ที่ต้องศึกษาในฐานะนักลงทุน อาทิ มูลค่าแบรนด์ การประสิทธิภาพทางการเงิน และการตัดสินใจของคณะกรรมการและผู้จัดการ เป็นต้น
ทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี ทั้งสองประเภทมีบทบาทสำคัญหากต้องการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานให้ละเอียด อย่าลืมตัดสินใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน โดยบางท่านอาจใช้วิธีจากบนลงล่างโดยคำนึงถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคเป็นหลัก ขณะที่บางท่านอาจชื่นชอบวิธีจากล่างขึ้นบน ซึ่งก็คือการวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทก่อน แล้วดูข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคตามทีหลัง
มือใหม่ส่วนใหญ่มักสับสนเมื่อได้ยินเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทั้งสองประเภทนี้ และไม่เข้าใจว่าทั้ง 2 วิธีต่างกันอย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น ขณะที่บางคนก็มองว่าปัจจัยทั้ง 2 เหมือนกันและใช้แทนกันได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental analysis) จะเน้นที่การศึกษากระแสเงินสดของบริษัท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทจะดำเนินการอย่างไรโดยเน้นที่เศรษฐกิจและศักยภาพของอุตสาหกรรม เป็นผลให้นักลงทุนมีข้อมูลเพียงพอที่จะประเมินแนวโน้มมูลค่าหุ้น
การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (Technical analysis) เป็นการติดตามข้อมูลในเชิงเทคนิค โดยศึกษาปริมาณการซื้อขายและราคาสินทรัพย์เป็นหลัก ด้วยแนวคิดหลักคือการกำหนดรูปแบบเฉพาะ (Pattern) และการเคลื่อนไหวที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดซ้ำในอนาคต
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน