การเลือกลงทุนเทรดตราสารหนี้หรือพันธบัตร (Bond) หลากหลายประเภทเป็นหนึ่งในวิธีการที่ปลอดภัยที่สุดในการจัดการพอร์ต ทำให้พอร์ตเติบโตขึ้น และได้กำไรในระยะยาว โดยตราสารหนี้มีทั้งหมด 5 ประเภทหลักให้ท่านได้เลือกลงทุน ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล, หุ้นกู้เทศบาล, พันธบัตรออมทรัพย์, พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และหุ้นกู้ แบ่งตามประเภทของผู้ออกหรือผู้ขายตราสารหนี้ดังกล่าว รวมถึงวัตถุประสงค์ในการออกตราสาร ผลตอบแทน และระดับความเสี่ยงของตราสารนั้นๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบการตัดสินใจเลือกลงทุนตราสารหนี้ที่ปลอดภัยมากที่สุด
อีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการเลือกประเภทพันธบัตร คือ การลงทุนตราสารที่เป็นหลักทรัพย์ เช่น กองทุนรวม (Mutual fund) เป็นต้น แต่ก็ต้องขอบอกก่อนว่าหลักทรัพย์อาจมีความเสี่ยงมากกว่าเมื่อเทียบกับพันธบัตรหรือตราสารหนี้ประเภทอื่นๆ โดยในบทความวันนี้ เราจะมารีวิวเกี่ยวกับประเภทพันธบัตรทั้งหมดว่าแบบไหนเป็นอย่างไร เพื่อให้นักลงทุนทั้งมือใหม่และมืออาชีพตัดสินใจเลือกได้ว่าตราสารหนี้แบบไหนที่มั่นคงและปลอดภัยมากที่สุด
พันธบัตรรัฐบาล หรือ Treasury bond เป็นตราสารหนี้ที่แบ่งออกได้เป็นหลายรูปแบบแตกต่างกันไปตามอายุในการไถ่ถอน โดยประเภทพันธบัตรรัฐบาลที่นักลงทุนนิยมลงทุนกันมีทั้งหมด 3 รูปแบบ ได้แก่:
ถึงแม้ตราสารหนี้ประเภทนี้จะมีความมั่นคงและปลอดภัยเนื่องจากเป็นตราสารที่ออกโดยกระทรวงการคลังของรัฐบาลโดยตรง แต่ก็ถือเป็นสินทรัพย์ที่ค่อนข้างเสี่ยง เนื่องจากรัฐบาลบางประเทศอาจมีการผิดนัดการชำระ หรือชำระไม่ตรงเวลานั่นเองครับ
เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยกรมธนารักษ์ และนิยมซื้อกันทั้งในหมู่นักลงทุนและประชาชนทั่วไป โดยตราสารหนี้ชนิดนี้จะออกมาในมูลค่าที่จำกัดเพื่อให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากที่สุด และที่สำคัญพันธบัตรประเภทนี้เป็นตัวเลือกการลงทุนที่ดี เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนมูลค่าไปตามอัตราเงินเฟ้อ
เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานที่ได้รับการควบคุมและรับรองจากรัฐบาล จึงเป็นที่มาของการเรียกผู้ออกพันธบัตรประเภทนี้ว่าองค์การกึ่งอิสระของรัฐบาล (Quasi-government enterprise)
หุ้นกู้เทศบาลเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกการลงทุนที่ปลอดภัย จากชื่อหลายๆ ท่านก็คงพอทราบแล้วว่าตราสารหนี้ชนิดนี้ออกโดยหน่วยงานของเทศบาล ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลแล้ว ตราสารหนี้ประเภทนี้อาจมีความเสี่ยงมากกว่า เนื่องจากว่าหน่วยเงินเทศบาลหรือระดับจังหวัดอาจมีการชำระที่ล่าช้าหรือเกิดเหตุผิดนัดชำระได้บ่อยกว่านั่นเองครับ
ตราสารหนี้ประเภทนี้ออกโดยบริษัทหลายรูปแบบ และถือเป็นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงมากกว่าเมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เทศบาล แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมาพร้อมกับผลตอบแทนที่มากกว่า โดยหุ้นกู้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่:
ถึงแม้หลักทรัพย์นี้จะมีลักษณะเหมือนกับกองทุนรวม แต่ก็ถือเป็นหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า ที่สำคัญ นักลงทุนสามารถลงทุนซื้อขายได้โดยไม่จำเป็นต้องซื้อหรือครอบครองสินทรัพย์นั้นจริงๆ แต่ท่านจะได้รับผลตอบแทนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของตราสารหนี้อย่างแน่นอน โดยหลักทรัพย์ที่มีลักษณะเหมือนตราสารหนี้ ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ส, สัญญาค้ำประกันที่อยู่อาศัย (Mortgage-back securities), อัตราดอกเบี้ย และการเปลี่ยนแปลงผลตอบแทนรวมของหลักทรัพย์ (Total return swap) เป็นต้น
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน