ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

3 เครื่องมือบริหารจัดการความเสี่ยงที่ใช้ได้ผลจริง เหมาะสำหรับมือใหม่

การใช้เครื่องมือการจัดการความเสี่ยง (risk management) ในการซื้อขาย Forex จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการเทรดให้กับท่าน อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงจากการทุ่มลงทุนทั้งหมดภายในครั้งเดียว โดยไม่ว่าท่านจะกำลังซื้อขายสินทรัพย์ใด การตัดสินใจที่ไม่ถูกต้องเพียงเล็กน้อยก็อาจนำไปสู่การขาดทุนได้ น่าเสียดายที่นักลงทุนมือใหม่หลายท่านมักมองข้ามวิธีจัดการความเสี่ยงและไม่เตรียมแผนรับมือไว้ล่วงหน้า

None

ดังนั้นวันนี้ เราจะพูดเครื่องมือและเคล็ดลับในการจัดการความเสี่ยงที่ใช้ได้จริง ซึ่งการมีกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ท่านมีมุมมองเกี่ยวกับตลาดมากขึ้น รวมถึงช่วยให้บรรลุเป้าหมายในการเทรดได้ด้วยความมั่นใจ

เครื่องมือสำคัญในการจัดการความเสี่ยง

มีหลักการพื้นฐานหลายอย่างที่มือใหม่ทุกคนควรรู้ แม้ว่าเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะมีการให้ข้อมูลที่สอนให้เรายึดมั่นในแผนการเทรดและการลงทุนด้วยปริมาณที่เหมาะสม แต่ก็ยังมีบางแหล่งที่ให้ข้อมูลเชิงลึกที่คุ้มค่าและนำไปใช้ได้จริง โดยเครื่องมือการจัดการความเสี่ยงเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในสภาวะตลาดจริง ซึ่งได้แก่:

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

1. การจำกัดปริมาณเงินทุน

เป็นเทคนิคแรกเป็นที่รู้จักกันดีแต่มักถูกมือใหม่มองข้าม เพราะแม้ว่าท่านอาจไม่ได้วางแผนที่จะลงทุนเป็นจำนวนหลายพันดอลลาร์และมีเงินเงินลงทุนเพียงจำนวนน้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าท่านจะเสียเงินทุนนั้นไปได้โดยไม่ต้องมานั่งเสียดาย

ดังนั้น สิ่งแรกที่ต้องทำคือกำหนดจำนวนเงินที่ท่านสามารถลงทุนได้ พร้อมตัดสินใจว่าจะใช้เงินเท่าไหร่ในการซื้อขายโดยไม่กระทบกับงบที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม ท่านอาจใช้เทคนิคแบบอื่นๆ สำหรับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือพันธบัตร แต่สามารถนำเทคนิคนี้ไปใช้กับการเทรดรายวันและใช้กับการเทรดในระยะสั้นได้

เทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ส่วนใหญ่มักจะวางแผนการลงทุนและการเทรดแยกจากกันและไม่เอามาปนกัน

เพื่อวางแผนงบประมาณให้ง่ายยิ่งขึ้น ท่านจะต้องพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้:

  1. ความต้องการและการใช้จ่ายในปัจจุบันของท่าน
  2. วัตถุประสงค์ในการเทรด (ไม่ว่าจะเทรดเพื่อความสนุกสนาน หรือจริงจังถึงขั้นเป็นนักเทรด Full-time)
  3. ท่านอดทนกับความเสี่ยงได้หรือไม่? และจะรับมือกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดและการสูญเสียอย่างไร?
  4. ท่านมีพื้นฐานทางการเงินหรือประสบการณ์ในการเทรดมาก่อนหรือไม่?

เมื่อกำหนดลิมิตการลงทุนและวางแผนงบประมาณการเทรดแล้ว ให้พิจารณาถึงการรักษาผลตอบแทนด้วยเช่นกัน

2. ทำแบบทดสอบความเครียด

การฝึกฝนเป็นวิธีเดียวที่จะทราบได้ว่าท่านพร้อมที่จะเผชิญกับความเครียดมากแค่ไหน ดังนั้น ทางที่ดีควรทำแบบทดสอบความเครียดด้วยตัวเอง เพราะแม้แต่นักเทรดผู้เชี่ยวชาญยังมักจะแนะนำให้คำนวณการขาดทุนไว้ล่วงหน้า เพื่อดูว่าเรายอมรับได้หรือไม่หากราคาเกิดสวนทางกับที่วางแผนไว้

ยิ่งไปกว่านั้น ลองนึกภาพว่าท่านกำลังขาดทุนทันทีหลังจากราคาไปแตะตำแหน่งสูงสุดที่สามารถทำกำไรได้เรียบร้อยแล้ว หากท่านสามารถรับมือได้ ก็สามารถก้าวไปสู่ขั้นต่อไปได้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม ท่านควรมีเงินทุนสภาพคล่องสำรองในยามฉุกเฉิน แม้ว่าท่านจะมีเครื่องมือการจัดการความเสี่ยงในการเทรดแล้วก็ตาม

ทั้งนี้ มือใหม่ไม่ควรเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินทุนจำนวนมหาศาล ทางที่ดีที่สุดคือค่อยๆ ปรับเงินทุนเพิ่มขึ้นโดยพิจารณาดูว่ากลยุทธ์การเทรดที่ใช้อยู่ให้ผลตอบแทนอย่างไร ดีแค่ไหน

3. หลีกเลี่ยง Slippage

แม้จะใช้ออเดอร์ Stop loss ประเภทต่างๆ (เนื่องจากเป็นเครื่องมือจัดการความเสี่ยงในการเทรดที่มีประสิทธิภาพที่สุด) ก็ยังไม่สามารถรับประกันได้ว่าการเทรดนั้นปราศจากความเสี่ยง 100% เพราะราคาจริงอาจมีการคลาดเคลื่อนจากที่กำหนดไว้ หรือที่เรียกว่า Slippage นั่นเอง ซึ่งทำให้เครื่องมือจัดการความเสี่ยงไม่มีผลเลยแม้แต่น้อย

4. กำหนดขนาดออเดอร์ที่คงที่

หลักการนี้จะอาศัยการคำนวณขนาดออเดอร์ซื้อขายใหม่ทุกรายการ ซึ่งช่วยให้ท่านตั้งระดับขาดทุนที่คงที่ได้ รวมถึงระดับการตั้งออเดอร์ Stop loss นั่นเอง ข้อดีของการกำหนดขนาดออเดอร์ มีดังนี้:

  • ช่วยให้มีแผนในการออกออเดอร์ขนาดเล็กเผื่อกรณีที่เกิดข้อผิดพลาด
  • ช่วยในการรักษาเงินทุนของท่าน
  • ช่วยหลีกเลี่ยงการออกออเดอร์ที่มีขนาดที่ไม่แน่นอน
  • ช่วยให้สามารถเพิ่มขนาดออเดอร์ได้อย่างเหมาะสมหากทำกำไรได้จริง

ด้วยเคล็ดลับง่ายๆ ที่ว่ามานี้ จะทำให้ท่านเทรดได้อย่างปลอดภัยและได้ผลตอบแทนที่มั่นคงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังสามารถป้องกันความเสี่ยงได้อีกด้วย

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน