สถานการณ์ความเสี่ยงในตลาดยังคงไม่ชัดเจนในเช้าวันพุธนี้ หลังจากที่เห็นความเชื่อมั่นที่ถดถอยลงเมื่อวันก่อนหน้า ขณะที่นักลงทุนกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการรายงานข้อมูล/เหตุการณ์เศรษฐกิจสำคัญในสัปดาห์นี้ นอกเหนือไปจากความวิตกกังวลก่อนการรายงานข้อมูลแล้ว ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางและสัญญาณที่ผันผวนจากประเทศจีนยังทดสอบแนวโน้มของตลาดก่อนหน้านี้ซึ่งบ่งชี้ถึงความล่าช้าในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางชั้นนำ ซึ่งรวมไปถึงธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางยุโรป (ECB)
ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 1.5 เดือนขณะที่ข้ามระดับราคาที่ 103.00 ก่อนถอยกลับสู่ระดับราคาที่ราวๆ 103.40 ส่วนทางด้าน ดัชนีดาวโจนส์ร่วงลงครั้งแรกในรอบสี่วันและหุ้นในฝั่งเอเชียแปซิฟิกก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน
เป็นผลให้คู่เงิน EURUSD ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหกสัปดาห์ และคู่เงิน GBPUSD ก็เข้าสู่ช่วงแนวโน้มขาลงในวันนี้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ยังคงผันผวนอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบหลายวัน ในขณะที่ คู่เงิน USDJPY ขาดโมเมนตัมขาขึ้น
อีกทั้ง ราคาน้ำมันยังขาดแรงหนุนขาขึ้น แม้จะมีการดึงออกจากคลังสำรองรายสัปดาห์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะท่ามกลางบรรยากาศการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ซึ่งในทางกลับกัน สิ่งนี้กลับกระตุ้นช่วงแนวโน้มขาลงของคู่เงิน USDCAD เนื่องจากแคนาดาพึ่งพาการนำเข้าพลังงานเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ราคาทองคำยังคงซบเซาภายในรูปแบบกราฟสามเหลี่ยมสมมาตรอายุ 1.5 เดือน โดยร่วงลงสู่เขต breakout
ทางฝั่งของ BTCUSD และ ETHUSD ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเดือนครั้งใหม่ เนื่องจากนักลงทุนคริปโตเตรียมพร้อมสำหรับการอนุมัติ ETF Ethereum ด้วยท่าทีระมัดระวัง
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นและสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ผลักดันให้ดัชนี DXY ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อวานนี้ แม้ว่าดัชนีการผลิตริชมอนด์ของสหรัฐฯที่ต่ำสุดในรอบ 8 เดือนร่วมกับการประเมินใหม่ของตลาดเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะท้าทายค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่ระดับสูงสุดในรอบ 6 สัปดาห์ นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในยูโรโซนที่ตกต่ำในเดือนมกราคม และผลสำรวจของธนาคารจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังระบุว่าความต้องการสินเชื่อได้ลดลงอีกหนึ่งรายไตรมาส จึงส่งผลให้ค่าเงินยูโรอ่อนตัวลง ซึ่งในทางกลับกันกลับสนับสนุนช่วงแนวโน้มขาขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
อีกทางด้านหนึ่ง กองทัพสหรัฐฯยังคงโจมตีกลุ่มติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านอย่างกลุ่มคาตาอิบ ฮิซบอลเลาะห์ ซึ่งเป็นผลให้ความตึงเครียดในตะวันออกกลางรุนแรงขึ้น ในขณะเดียวกัน มีการรายงานข่าวว่า เจ้าหน้าที่ให้ช่วยเหลือของสหรัฐฯและอังกฤษถูกขอให้ออกจากเยเมน ในอีกทางหนึ่ง จีนใช้มาตรการเชิงคุณภาพเพื่อควบคุมการเทขายหุ้นโดยการกดดันให้บริษัทประกันและกองทุนเฮดจ์ฟันด์จำกัดการชอร์ตเซลหุ้นและสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนีหุ้น ข่าวนี้ได้แพร่สะพัดความกลัวไปทั่วตลาดสำคัญๆ แต่ยังไม่สามารถหนุนช่วงแนวโน้มขาขึ้นดอลลาร์สหรัฐฯได้
การรายงานครั้งแรกของข้อมูลดัชนี PMI ของเดือนมกราคมจากเยอรมนี ยูโรโซน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาจะกระตุ้นโมเมนตัมของนักลงทุนในตลาดควบคู่ไปกับการประกาศนโยบายการเงินของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) แม้ว่าดัชนี PMI ส่วนใหญ่จะยังคงอยู่ในช่วงขาลง ยกเว้นข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แต่สภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและความกังวลเกี่ยวกับสภาวะ soft landing ของเศรษฐกิจสหรัฐฯจะช่วยหนุนความคาดหวังของตลาดเกี่ยวกับการชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งสิ่งนี้ยังจะช่วยหนุนให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ความประหลาดใจเชิงลบ อาจกระตุ้นให้ดอลลาร์สหรัฐฯเกิดการดึงกลับอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนักลงทุนต้องการเตรียมพร้อมสำหรับการประชุมนโยบายการเงินของ FOMC ในสัปดาห์หน้า นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า BoC มีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม และส่งผลให้ดอลลาร์แคนาดา (CAD) ชะลอการร่วงลงที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ เว้นแต่ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะแข็งค่าขึ้นมากกว่านี้ และเจ้าหน้าที่ของ BoC สนับสนุนจุดยืนการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !