ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-04-19

แรงเทซื้อทองคำเพิกเฉยต่อดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นโดยแตะที่ระดับ $2,400 ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน

แรงเทซื้อทองคำเพิกเฉยต่อดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นโดยแตะที่ระดับ $2,400 ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน

ความซับซ้อนของความเสี่ยงในตลาดพุ่งสูงขึ้นในช่วงเช้าวันศุกร์ ในขณะที่การโจมตีอิหร่านของอิสราเอลสร้างความหวาดกลัวเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 3 อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การตอบโต้ของอิหร่านดูเหมือนจะทดสอบความเชื่อมั่นที่สั่นคลอนในช่วงหลัง โดยพาดหัวข่าวด้านความเสี่ยงเชิงลบร่วมกับแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed และการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่มีทิศทางเป็นบวกยังช่วยหนุนการแข็งค่าขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย

ปัจจัยเดียวกันนี้ได้ส่งผลกระทบต่อคู่เงิน EURUSD ท่ามกลางถ้อยแถลงที่โน้มเอียงไปทางการผ่อนคลายนโยบายการเงินจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในขณะที่ คู่เงิน GBPUSD ไม่ได้ตอบสนองต่อแถลงการณ์เชิงบวกจากธนาคารแห่งอังกฤษ (BoE) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศที่มีความผันผวน อีกทั้ง คู่เงิน USDJPY และคู่เงิน USDCHF ยังปรับลดลง เนื่องจากสถานะสินทรัพย์ปลอดภัยของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) และฟรังก์สวิส (CHF) ในขณะที่ราคาทองคำยังคงแข็งแกร่งท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดต่ำลงและความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยของตลาด นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นจากความกังวลเรื่องการขาดแคลนอุปทาน ในขณะที่ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ร่วงลงอย่างหนัก

ในอีกทางหนึ่ง BTCUSD และ ETHUSD พลิกกลับการฟื้นตัวของวันก่อนหน้า ท่ามกลางความเชื่อมั่นที่ตกต่ำในวงกว้างและการทรงตัวก่อนการ halving ของ Bitcoin ในวันที่ 20 เมษายน

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent) พุ่งขึ้นสูงสุดในรอบห้าสัปดาห์ที่ประมาณ $88.80
  • ทองคำ (Gold) ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นในช่วง 5 สัปดาห์ ขณะที่พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยที่ประมาณ $2,385
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) เพิ่มขึ้น 0.25% ระหว่างวันไปที่ 106.20 โดยเตรียมพร้อมสำหรับการพุ่งสูงขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดผสม แต่ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับลดลง ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ร่วงลงในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ร่วงลงมากกว่า 1.0% ระหว่างวันที่ประมาณ $63,000 และ $3,030 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

สภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงผลักดันค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ...

เหตุการณ์ระเบิดที่เกิดขึ้นประปรายในตะวันออกกลาง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นในตลาดถดถอยลงในช่วงเช้าวันศุกร์ อย่างไรก็ตาม การรายงานข่าวมีความล่าช้า และความลังเลของอิหร่านในการตั้งรับการโจมตีครั้งใหญ่จากอิสราเอลยังท้าทายบรรยากาศการมองโลกในแง่ร้ายในภายหลัง และเป็นที่น่าสังเกตก็คือ S&P ได้ลดอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือของอิสราเอลลงจาก AA- เป็น A+ ซึ่งส่งผลต่อการพร้อมรับความเสี่ยงในตลาดด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ทำเนียบขาวยังได้ระบุว่ามีความพร้อมที่จะพิจารณาคว่ำบาตรอิหร่านเพิ่มเติม โดยความท้าทายเหล่านี้ทำให้เตหะรานไม่สามารถตอบโต้การโจมตีของอิสราเอลได้อย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลให้จำกัดสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในช่วงหลัง

ล่าสุด สำนักข่าว CNN มีการอ้างอิงแหล่งข่าวในภูมิภาค โดยปฏิเสธความเป็นไปได้ที่อิหร่านจะตอบโต้การโจมตีของอิสราเอลในวันศุกร์ สอดคล้องกับรายงานในช่วงต้นวันที่มีการรายงานว่า อิหร่านปฏิเสธการโจมตีจากต่างชาติในเมืองต่างๆของอิหร่าน รวมถึงเมืองอิสฟาฮาน (Īṣfahān) เจ้าหน้าที่เตหะรานยังกล่าวอีกว่า "ไม่มีการโจมตีทางอากาศ มีเพียงโดรน 4 ใบพัดที่ถูกยิงตกเท่านั้น"

นอกจากนี้ พาดหัวข่าวที่ส่งผลลบต่อความเสี่ยงจากธนาคารประชาชนจีน (PBoC) ยังช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น โดย PBoC ชี้ถึงความท้าทายจากการที่จีนมุ่งเน้นการขยายสินเชื่อ 'ด้านเดียว' เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

เมื่อเราพิจารณาคำพูดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำแอตแลนตา Raphael Bostic ได้ออกมาแสดงความยินดีต่อความคืบหน้าในการจัดการเงินเฟ้อ แต่ยังคงกล่าวว่า "ผมยังคงต้องเปิดกว้างต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากเงินเฟ้อหยุดนิ่งหรือไปในทิศทางอื่น" นอกจากนี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำมินนิแอโปลิส Neel Kashkari ได้แสดงความเห็นที่แตกต่างออกไป โดยกล่าวว่า "เมื่อเงินเฟ้อกลับสู่ระดับ 2% ธนาคารกลางสหรัฐฯก็สามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้" อย่างไรก็ตาม ผู้กำหนดนโยบายต่างคาดการณ์เงินเฟ้ออยู่ที่ 2.0% ในปี 2025 ดังนั้นจึงมีการชี้แนะให้ชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในอีกทางหนึ่ง John Williams ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำนิวยอร์ก แสดงท่าทีสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดโดยไม่เพียงปฏิเสธความเร่งด่วนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น แต่ยังกล่าวอีกว่า "หากข้อมูลชี้ไปในทางที่ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed ก็จะดำเนินการ"

นอกเหนือไปจากแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed แล้ว ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีทิศทางเป็นบวกยังทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง โดยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯมีการรายงานตัวเลขที่ 212,000 คน ซึ่งตรงกับการประมาณการที่ 215,000 คน ขณะที่ ดัชนีสำรวจภาคการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำฟิลาเดลเฟียประจำเดือนเมษายน พุ่งสูงขึ้นแตะ 15.5 จาก 3.2 ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 1.5 อย่างไรก็ตาม ยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯประจำเดือนมีนาคมทรงตัว แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

เมื่อเทียบกับสถานการณ์เดียวกันนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) เตรียมปรับตัวสูงขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สองในขณะที่พุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2023 นอกจากนี้ ตลาดหุ้น Wall Street ปิดผสม แต่หุ้นเอเชียแปซิฟิกกลับปิดตลาดในแดนลบ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรกระทรวงการคลังไม่ได้รับผลกระทบจากสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง และยังมีการร่วงลงรายวันจนถึงวันศุกร์ ซึ่งในทางกลับกันจะเป็นการท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ และส่งผลให้ราคาทองคำยังคงแข็งค่าขึ้น

ในขณะที่เจ้าหน้าที่ Fed ส่วนใหญ่ผลักดันให้เลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งถือว่าเป็นแรงสนับสนุนให้ดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้น ผู้กำหนดนโยบายธนาคารกลางยุโรป (ECB) ดูเหมือนจะสนับสนุนให้ธนาคารกลางของกลุ่มยูโรโซนปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้น ซึ่งเป็นการส่งผลกระทบต่อค่าเงินยูโร (EUR) ทั้งนี้สมาชิกสภาปกครอง Olli Rehn ได้ออกมากล่าวว่า “หากเรามั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงบรรจบกันตามเป้าหมายที่ 2% ของเรา เดือนมิถุนายนจะเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มผ่อนคลายนโยบายการเงินและปรับลดอัตราดอกเบี้ย” ในขณะเดียวกัน สมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) Klaas Knot ระบุว่า "เขามองเห็นแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างระมัดระวังหลังเดือนมิถุนายน" พร้อมกับแสดงความไม่สบายใจต่อการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของตลาด นอกจากนี้ รองประธาน ECB Luis de Guindos ยังกล่าวอีกว่า "เป็นสิ่งที่เหมาะสมที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินที่เข้มงวดหากสภาพการณ์เงินเฟ้อสอดคล้องกับเงื่อนไข"

อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน EURUSD ไม่ได้รับแรงหนุนจากการประเมินเศรษฐกิจเยอรมนีในเชิงบวก จากธนาคารกลางเยอรมนี (Bundesbank) แม้จะเห็นตัวเลขเศรษฐกิจขยายตัวในไตรมาสแรกของปี 2024 สาเหตุหลักมาจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น และนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) รายงานเศรษฐกิจรายเดือนของ Bundesbank ระบุว่า เศรษฐกิจเยอรมนีขยายตัวในไตรมาสแรกของปี 2024 เหนือความคาดหมาย โดยได้รับแรงหนุนจากภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม รายงานยังระบุอีกว่า "ยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจเยอรมนี" ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อคู่เงิน EURUSD ที่ระดับต่ำสุดในรอบปี

Megan Greene หนึ่งในคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารอังกฤษ (BoE) กล่าวว่า เธอไม่คาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ โดยเสริมว่า "เราคาดว่าเงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่คาดว่าจะไม่คงอยู่ที่ระดับนั้น" แม้จะมีความคิดเห็นเชิงสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดแต่ก็ไม่ได้เป็นแรงหนุนแรงเทซื้อคู่เงิน GBPUSD โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการอย่าง ความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐฯ และความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการรายงานข้อมูลล่าสุดที่ออกมาในหลากหลายทิศทาง

ทั้งนี้ คู่เงิน USDCHF และคู่เงิน USDJPY เพิกเฉยต่อดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นสืบเนื่องมาจากสถานะสินทรัพย์ปลอดภัย (safe-haven) ของทั้งฟรังค์สวิส (CHF) และเยนญี่ปุ่น (JPY) นอกจากนี้ ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่จากธนาคารกลางสวิส (SNB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังช่วยหนุนการฟื้นตัวของ CHF และ JPY อีกด้วย

นอกจากนี้ Kazuo Ueda ผู้ว่าการ BoJ มีท่าทีสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดในการแสดงความคิดเห็นล่าสุดของเขาในขณะที่กล่าวว่า "มีโอกาสที่ JPY ที่อ่อนค่าอาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเงินเฟ้อ และหากเป็นเช่นนั้นอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบาย" ในทางกลับกัน Antoine Martin ผู้กำหนดนโยบายของ SNB ได้ออกมากล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อของสวิสมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ในระดับ 0-2% ในอีกสามปีข้างหน้า

นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ยังได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯและความเชื่อมั่นที่เกี่ยวข้องกับจีนที่ลดต่ำลง ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นมากกว่า 2.0% ท่ามกลางความกังวลว่าจะเกิดวิกฤตอุปทานเนื่องจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, EURUSD

จับตามองภูมิรัฐศาสตร์การเมือง และการประชุม Fed ...

แม้ว่าหัวข้อข่าวที่เกี่ยวข้องกับสงครามอิสราเอล-อิหร่านอาจทำให้นักลงทุนในตลาดต้องตื่นตัว ซึ่งขณะเดียวกันก็หนุนความแข็งแกร่งของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แต่การพูดคุยกันรอบสุดท้ายของ Fed ก่อนช่วง blackout สองสัปดาห์ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจับตามองสำหรับผู้เล่นในตลาดเช่นกัน โดยผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯส่วนใหญ่สนับสนุนการชะลอการปรับลดดอกเบี้ยซึ่งสอดคล้องกับการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯล่าสุด ในขณะเดียวกันก็หนุนแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ และท้าทายแรงเทซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ รวมไปถึงสร้างแรงกดดันต่อคู่เงิน GBPUSD และคู่เงิน EURUSD ด้วยเช่นกัน

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !