ตลาดอยู่ในสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในช่วงต้นวันอังคาร เนื่องจากความกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์โดยรอบตะวันออกกลางร่วมกับปัญหาเศรษฐกิจในจีนและความสงสัยเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่มีการคาดการณ์ไว้อย่างมากในเดือนมีนาคม นอกจากนี้ การกลับมาดำเนินการเต็มรูปแบบของตลาดและบรรยากาศที่มีความระมัดระวังก่อนการประชุม FOMC เดือนมกราคม ยังช่วยหนุนสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอีกด้วย ซึ่งจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯยังคงแข็งค่าขึ้นได้ แม้จะมีปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบางก็ตาม
เมื่อพิจารณาจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาทองคำจึงเกิดการร่วงลงเป็นครั้งแรกในรอบสี่วัน ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบกลับไม่ได้รับแรงหนุนจากความกังวลเรื่องวิกฤตอุปทาน
อีกทางด้านหนึ่ง ความเชื่อมั่นที่ถดถอยลงและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯร่วมกับข้อมูลเศรษฐกิจออสเตรเลียที่ตกต่ำได้ส่งผลกระทบต่อคู่เงิน AUDUSD ขณะที่ คู่เงิน GBPUSD ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหนึ่งสัปดาห์ ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรที่ผันผวนและความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ปรับลดลงก่อนการแถลงการณ์ในวันนี้จากผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) Andrew Bailey
ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเจ็ดวันที่ราวๆ 103.00 ในขณะที่หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิกปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ฟิวเจอร์สหุ้นสหรัฐฯยังถอยกลับจากระดับสูงสุดในรอบหลายวันที่ทำเครื่องหมายไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของตลาด
แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะแข็งค่าขึ้นและความเสี่ยงในการลงทุนยังคงมีอยู่ แต่สกุลเงินดิจิทัลยังคงมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกเล็กน้อย โดยขยายการฟื้นตัวในช่วงเริ่มต้นของสัปดาห์ ท่ามกลางความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีการอนุมัติ spot ETF
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ก่อนหน้านี้ รายงานการจ้างงานล่าสุดของสหราชอาณาจักรเผยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคมและรายได้เฉลี่ยในเดือนพฤศจิกายนที่ปรับลดลง โดยอัตราการว่างงานของ ILO ในช่วงสามเดือนถึงเดือนพฤศจิกายนยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ คู่เงิน GBPUSD จึงร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสัปดาห์ในช่วงแรกก่อนที่จะฟื้นตัวขึ้นที่ราวๆ 1.2660
ในอีกทางหนึ่ง Raphael Bostic ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งแอตแลนตาได้ให้สัมภาษณ์กับ Financial Times (FT) ในช่วงสุดสัปดาห์ว่า เขาเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยจำเป็นต้องยังคงอยู่ระดับสูงต่อไปอย่างน้อยจนถึงฤดูร้อน โดยอ้างถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในปัจจุบันของสหรัฐฯ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ได้ท้าทายความเชื่อที่มั่นคงของตลาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงตั้งแต่เดือนมีนาคม โดยสถานการณ์นี้เมื่อรวมกับความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางและปัญหาเศรษฐกิจของจีนนั้นจะช่วยหนุนให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น แม้จะมีช่วงวันหยุดของสหรัฐอเมริกาก็ตาม
อย่างไรก็ตาม กองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน (IRGC) ได้ยิงขีปนาวุธหลายลูกไปใกล้สถานกงสุลสหรัฐฯในอิรัก โดยสถานการณ์นี้ได้จุดกระแสความกลัวว่าสหรัฐฯจะตอบโต้อย่างรุนแรง และจะเป็นการสร้างสถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นในความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับตะวันออก เช่นเดียวกับการปะทะระหว่างสหรัฐฯและอังกฤษกับกบฏฮูธิในทะเลแดง นอกจากนี้ FT ยังได้รายงานข่าวว่า เจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนมีความพยายามควบคุมการเทขายหุ้นในจีน โดยได้บอกกับนักลงทุนบางรายว่าอย่าขายหุ้น ท่ามกลางการตกต่ำอย่างต่อเนื่องของตลาดหุ้นในจีน ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้เกิดความกังขาในหมู่นักลงทุนและผลักดันให้พวกเขาหันไปหาดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางการพูดคุยเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯในช่วงไม่กี่ครั้งที่ผ่านมา
และเป็นที่น่าสังเกตว่าการสำรวจของ Reuters ล่าสุดชี้ให้เห็นว่า GDP ของจีนในปี 2024 มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นเป็น 4.6% จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 4.5% อย่างไรก็ตาม ตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนอ่อนแอกว่าตัวเลขการคาดการณ์ GDP ของจีนในปี 2023 ที่ 5.2% และตัวเลขคาดการณ์สำหรับไตรมาสที่ 3 ปี 2023 ที่ 5.0% ทั้งนี้ สำนักข่าว Bloomberg ยังได้รายงานข่าวที่บ่งชี้ถึงความขัดแย้งล่าสุดระหว่างจีนและรัสเซีย ที่สืบเนื่องมาจากธนาคารที่สนับสนุนโดยกรุงปักกิ่งได้เพิ่งจำกัดการให้เงินทุนแก่รัสเซีย ท่ามกลางการคว่ำบาตรรัสเซียที่เข้มงวดขึ้นของสหรัฐฯ ซึ่งสิ่งนี้จะยิ่งสนับสนุนความกลัวด้านภูมิรัฐศาสตร์ของตลาด และหนุนให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น
นอกเหนือไปจากปัจจัยเร่งปฏิกิริยาที่กล่าวมาข้างต้น ข้อมูลเศรษฐกิจของเยอรมนีที่ตกต่ำลงยังส่งสัญญาณถึงความหวาดกลัวทางเศรษฐกิจโดยรอบยูโรโซน และส่งผลกระทบต่อสกุลเงินยูโรในภูมิภาคอีกด้วย แม้ว่าเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะพยายามลดความกังวลเรื่องการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเพื่อปกป้องเงินยูโรก็ตาม นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของธนาคารกลางแคนาดาที่ลดต่ำลงซึ่งสวนทางกับความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่แข็งแกร่งในนิวซีแลนด์และความเชื่อมั่นผู้บริโภคออสเตรเลียที่น่าผิดหวังยังส่งผลกระทบต่อค่าเงิน AUD,NZD อีกทั้ง ตัวเลขค่าดัชนี PPI ของญี่ปุ่นที่ปรับตัวดีขึ้น และการสนับสนุนการเรียกร้องการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ BOJ กลับไม่ได้กระตุ้นให้แรงเทซื้อคู่เงิน USDJPY ท่ามกลางการฟื้นตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอ้างอิง
ตรงกันข้ามกับวันหยุดของสหรัฐอเมริกาในวันจันทร์ การรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อหลายรายการจากแคนาดา การแถลงการณ์จากผู้ว่าการ Fed Waller และการกลับมาดำเนินการเต็มรูปแบบของตลาดจะกระตุ้นนักลงทุนได้ในวันอังคารนี้ ด้วยเหตุนี้ จึงมีแนวโน้มที่จะเห็นการปรับลดลงเพิ่มเติมของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐฯอาจขยายการพุ่งสูงขึ้นครั้งล่าสุด อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือเป็นที่น่าสังเกตว่า ความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ผ่อนคลายลง และการที่ Waller ไม่สามารถโน้มน้าวใจผู้กำหนดนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed ได้ก็อาจกระตุ้นให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น อีกทางด้านหนึ่ง Bailey ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีกำหนดจะแถลงการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจอังกฤษต่อคณะกรรมาธิการ Lords Economic Affairs Committee ในลอนดอน ซึ่ง Bailey อาจมีความพยายามรักษาระดับคู่เงิน GBPUSD อย่างไรก็ตาม การรายงานข้อมูลล่าสุดไม่ได้สนับสนุนความเชื่อมั่นดังกล่าว จึงทำให้ช่วงแนวโน้มขาลงของคู่เงิน Cable อาจมองหาสัญญาณที่บ่งชี้ว่าธนาคารกลางอังกฤษอาจดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการถือครองคู่เงิน GBPUSD
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !