ความวิตกกังวลก่อนการเผยแพร่ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่สำคัญจากยูโรโซนและสหรัฐฯจำกัดการเคลื่อนไหวของตลาดในช่วงต้นวันพฤหัสบดีนี้ นอกจากนี้นักลงทุนยังติดอยู่ท่ามกลางการขาดทิศทางที่ชัดเจนจากสถิติทางเศรษฐกิจของเอเชียแปซิฟิกที่เผยแพร่ตามกำหนดการ เช่นเดียวกับข้อสงสัยของเหล่านักลงทุนในตลาดเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน
ด้วยเหตุนี้ เงินดอลลาร์สหรัฐฯจึงพุ่งขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบสี่วัน ในขณะที่แรงเทซื้อน้ำมันดิบและทองคำขาดโมเมนตัม
ทางด้านคู่เงิน EURUSD ร่วงลงอย่างมากในกลุ่มสกุลเงิน G10 เนื่องจากการฟื้นตัวของเงินดอลลาร์สหรัฐฯและยอดค้าปลีกของเยอรมนีที่ตกต่ำลง ในขณะที่คู่เงิน USDJPY มีความเคลื่อนไหวสวนทางกับแนวโน้มทั่วไปด้วยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ปรับลดลงและการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ)
ส่วนทางด้านคู่เงิน AUDUSD ขยับตัวสูงขึ้นเป็นผลมาจากข้อมูลดัชนี PMI ของจีนที่ผันผวนและข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนแบบเอกชนและเครดิตในออสเตรเลีย (Australian private CAPEX, Credit data)
และเป็นเรื่องที่น่าสังเกตว่าแม้ BTCUSD และ ETHUSD ขาดโมเมนตัมแต่ยังคงได้รับแรงกดดัน เนื่องจากผู้เล่นในตลาดชะลอการเคลื่อนไหวหลังมีการพุ่งสูงขึ้นอย่างมากในวันอังคารที่ผ่านมาก่อนการเผยแพร่ข้อมูลเศรษฐกิจแนวหน้าของสหรัฐฯ
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนของตลาดส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯไม่สามารถทำลายแนวรับที่เส้น 200-DMA ในขณะที่พุ่งสูงครั้งแรกของวัน อย่างไรก็ตาม แรงเทซื้อในตลาดดูเหมือนจะชะลอตัวเนื่องจากนักลงทุนกำลังมองหาปัจจัยหนุนเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสหรัฐฯ(Fed) ในอนาคตโดยรายละเอียดส่วนใหญ่ที่ได้รับการเผยแพร่มีทิศทางไปทางการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางสหรัฐฯ
แม้ว่าพาดหัวข่าว NBS Manufacturing PMI ของจีนมีสถานการณ์ดีขึ้นแต่ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50.0 ในขณะที่ตัวเลขค่าดัชนี PMI ที่ไม่ใช่ภาคการผลิตปรับลดลง นอกจากนี้ การกระตุ้นทางเศรษฐกิจของจีนยังไม่ได้รับความคาดหวังมากเท่าที่เคย เนื่องจากนักลงทุนกำลังมองหาปัจจัยสนับสนุนเพิ่มเติมจากปักกิ่งเพื่อหนุนความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนด้านอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั่วโลกและเพื่อส่งเสริมการสนับสนุนแรงเทซื้อของคู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD รวมไปถึงการท้าทายช่วงขาขึ้นของราคาทองคำและราคาน้ำมันดิบอีกด้วย
ในอีกทางหนึ่ง ยอดค้าปลีกของเยอรมนีที่ผันผวนตามข้อมูลอัตราเงินเฟ้อสร้างแรงกดดันด้านลบต่อเงินยูโร ส่วนทางฝั่งของคู่เงิน USDJPY แสดงให้เห็นถึงความหวังของตลาดที่จะได้เห็นการยุตินโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของ BoJ เร็วยิ่งขึ้น ในขณะที่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของ BoJ ได้ส่งสัญญาณการออกจากภาวะเงินฝืด (deflation)
ทั้งนี้ความหวังที่จะได้เห็นกระแส ETF ไหลเข้ามาในตลาดมากขึ้นและความได้เปรียบล่าสุดของผู้เล่นในอุตสาหกรรมเหนือ SEC ส่งผลให้แรงเทซื้อ BTCUSD และ ETHUSD มีความหวัง แต่ความกลัวต่อกฎระเบียบที่เข้มงวดนั้นยังคงส่งผลกระทบต่อราคา Bitcoin และ Ethereum
ไม่ว่าจะเป็นรายงานตัวเลขค่าดัชนี HICP และ CPI ของยูโรโซน หรือดัชนี Core PCE Price Index ของสหรัฐฯก็เป็นวันที่เน้นไปที่รายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอัตราเงินเฟ้อสำหรับตลาด หากตัวเลขเหล่านี้สามารถผ่อนคลายแรงกดดันด้านราคาลงได้ การพร้อมรับความเสี่ยงของตลาดล่าสุดอาจจะขยายตัวออกไปและคงแรงกดดันต่อเงินดอลลาร์สหรัฐฯต่อไป ในขณะที่เงินยูโรอาจร่วงลงเล็กน้อยด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการจ้างงานและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯจะยังคงกระตุ้นนักลงทุนในตลาดได้
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !