ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

กลยุทธ์ Grid คืออะไร? อธิบาย Grid Trading System ง่ายๆ ฉบับมือใหม่!

None

นับเป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์ที่ว่าผู้ที่อยู่ในตลาด Forex นั้นย่อมเติบโตได้เร็วหากมีโชคมากเพียงพอ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้การเทรด forex นำพามาซึ่งความเสี่ยงและการขาดทุนอย่างเลี่ยงไม่ได้ เทรดเดอร์ที่เข้ามาเพื่อหวังฟันกำไรอย่างรวดเร็วเพียงอย่างเดียวโดยขาดความอดทน, การเรียนรู้ศึกษา, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และบริหารจัดการอย่างถูกต้อง ย่อมต้องออกจากตลาดไปโดยไม่เหลืออะไรเลย

แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ยังมีนักลงทุน "จริงๆ" หลงเหลืออยู่ ที่รู้ดีว่าพวกเขาสามารถเทรดเก่งขึ้นได้ในทุกๆ วัน ด้วยการเรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการเทรดทั้งที่แพ้และชนะ โดยบทความนี้เหมาะสำหรับนักเทรดที่เข้าใจการเทรดเป็นอย่างดี และพร้อมที่จะควบคุมความเสี่ยงด้วยความมุ่งมั่นในการขยายกำไรให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งกลยุทธ์ที่เรากำลังจะพูดถึงนั้น หากใช้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มกำไรได้ดีทีเดียว นั่นก็คือ… กลยุทธ์ Grid trading นั่นเอง!!

หัวข้อหลัก

เทรด Forex ด้วยกลยุทธ์ Grid

ข่าวดี: ระบบ grid เป็นระบบเทรดที่ทำงานโดยอัตโนมัติ นั่นหมายความว่าท่านไม่จำเป็นต้องนั่งเฝ้าหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน และอีกหนึ่งข่าวดีก็คือ ระบบ grid สามารถใช้ทำกำไรได้แม้ในจังหวะที่ตลาดมีความผันผวน เพราะไม่ว่าราคาจะวิ่งไปในทิศทางใด หากท่านตั้งค่าระบบอย่างถูกต้อง มันก็จะช่วยทำกำไรในทิศทางที่ราคาเคลื่อนที่ไปนั่นเอง แต่ข่าวร้ายก็คือ กลยุทธ์ grid นั้นเป็นกลยุทธ์ที่ค่อนข้างซับซ้อน และต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์อยู่พอตัว ซึ่งถ้าหากท่านไม่เคยใช้กลยุทธ์นี้มาก่อน หรืออาจจะเคยใช้แล้วแต่ยังไม่ได้ผล นี่เป็นเวลาที่เหมาะสมในการมาทำความรู้จักระบบ grid ให้มากขึ้น!

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

Grid trading หรือ ระบบกริด เป็นระบบเทรดประเภทหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ในการเทรด forex ซึ่งกลยุทธ์นี้ใช้ทำกำไรได้ทั้งในตลาดแบบ Sideway และในตลาดที่มีเทรนด์ โดยนอกจากระบบ grid จะช่วยเพิ่มโอกาสทำกำไรให้มากขึ้นแล้ว ยังเป็นการ Hedging เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดทุนด้วยเช่นกัน โดยระบบจะคาดการณ์ตำแหน่งออเดอร์ Buy stop และ Sell stop จากราคาดั้งเดิม แล้วตั้งออเดอร์ทั้ง 2 ประเภทในหลายๆ ระดับราคา ทั้งในขาขึ้นและขาลง

None

โบรกเกอร์บางแห่งอาจมีข้อจำกัดในการเทรด แต่ที่ MTrading เรารองรับทุกกลยุทธ์เทรด! ทดสอบ, เทรด, ทำกำไร และเติบโตไปด้วยกันกับเรา เพียงเริ่มทดลองใช้กลยุทธ์ grid ผ่านบัญชีเดโม่ หรือดาวน์โหลด MetaTrader 4 เพื่อเริ่มเทรดจริงทันที!

ทำกำไรจากความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในตลาด ด้วยการตั้งออเดอร์ buy stop และ sell stop บนแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานได้ง่ายและสะดวก หรือจะเทรดบนเว็บเบราว์เซอร์โดยไม่ต้องติดตั้งก็ยังได้!

ระยะ grid เกิดจากอะไร

ลักษณะของ grid ในการเทรด forex นั้นส่วนใหญ่จะมีหน้าตาคล้ายๆ กัน แตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามกลยุทธ์ที่เทรดเดอร์ใช้ รวมถึงประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยง

โครงสร้างของระบบ grid โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายๆ กับ "ตะแกรง" (แหงล่ะ! ก็ grid แปลว่า ตะแกรง นี่นา!!) ที่ปรากฎเป็นลวดลายช่องถี่ๆ อยู่ทั่วกระดานราคา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งค่าไว้ล่วงหน้าเพื่อให้เกิดการปิดออเดอร์เมื่อราคาขึ้นหรือลงไปถึงระดับราคาที่ได้ตั้งค่าเอาไว้แล้วนั่นเอง

None

พูดง่ายๆ ก็คือ ช่องตะแกรงบนกราฟราคาในระบบ grid นั้นเกิดขึ้นมาจากการวางออเดอร์ซื้อขายกระจายๆ ไปหลายตำแหน่ง ทั้งบริเวณด้านบนและด้านล่างของจุดที่ท่านได้เปิดออเดอร์ไว้นั่นเองครับ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วระยะห่างในแต่ละช่องของ grid จะอยู่ที่ 10-20 pips ฉะนั้น ใน 1 grid (ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย 5-15 ออเดอร์) จะมีระยะอยู่ที่ 50 ถึง 300 pips โดยทั้งออเดอร์ buy และ sell นั้นจะมีจำนวนเท่าๆ กันไปในทุกทิศทาง ทำให้เทรดเดอร์สามารถกำหนดออเดอร์ take profit เพื่อให้ระบบเทรดอัตโนมัติได้ เมื่อราคาไปถึงระดับดังกล่าวและได้กำไรตามที่เทรดเดอร์ต้องการ

ตัวอย่าง:

ระยะห่างที่กำหนดเท่ากับ 10 pips

ราคาปัจจุบันคือ 1.3550

ตั้งออเดอร์ buy ที่ 1.3560, 1.3570, 1.3580, 1.3590

ตั้งออเดอร์ sell ที่ 1.3540, 1.3530, 1.3520, 1.3510

เมื่อราคาพุ่งขึ้นไปถึงออเดอร์ buy ออเดอร์แรก ที่ 1.3560 ระบบก็จะเปิดออเดอร์เทรดดังกล่าวโดยอัตโนมัติ และหากราคาพุ่งขึ้นไปถึง 10 pips นั่นก็หมายความว่าท่านได้กำไร 10 pips นั่นเอง

จากนั้น คำสั่งซื้อออเดอร์ที่ 2 ก็จะถูกเปิดขึ้นเมื่อราคาไปแตะระดับ 1.3570 และเมื่อราคาพุ่งขึ้น ก็จะมีขั้นตอนในการทำกำไรเกิดขึ้นซ้ำๆ เดิมไปเรื่อยๆ

การบริหารเงินทุน

None

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า แม้ระบบหรือกลยุทธ์อัตโนมัติจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเทรดได้มากแค่ไหน แต่หากเทรดเดอร์ไม่รู้จักใช้งานอย่างเหมาะสม ก็อาจเปล่าประโยชน์ โดยเฉพาะกลยุทธ์ที่มาพร้อมกับโอกาสทำกำไรมหาศาล แต่ก็เต็มไปด้วยความเสี่ยงที่มากมายเหลือเกิน แต่ถ้าหากเทรดเดอร์รู้จักใช้เครื่องมือเทรดอัตโนมัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม บางครั้งมันก็อาจทำกำไรได้มากกว่าการลงมือเทรดเองเสียอีก อย่างไรก็ตาม ระบบอัตโนมัติที่ดีจะต้องเข้าใจอารมณ์และสภาวะของตลาด รวมถึงลักษณะของเทรนด์ในขณะนั้นด้วยเช่นกัน

แต่การใช้ระบบ grid ก็อาจมีความเสี่ยงอยู่บ้างเช่นกัน เนื่องจากอาจเกิดแพทเทิร์นที่เรียกว่า "Dangling trade" ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อออเดอร์ถูกเปิด แต่ราคากลับเกิดการกลับตัวลงก่อนที่จะถึงเป้า take profit และยิ่งราคาร่วงลงจากจุดเปิดออเดอร์มากเท่าไหร่ ท่านก็จะยิ่งขาดทุนมากเท่านั้น

แล้วจะจำกัดการเทรดขาดทุนในระบบ grid ได้อย่างไร? คำตอบคือ… การตั้ง Stop loss นั่นเองครับ โดยออเดอร์ stop loss จะช่วยยุติการเทรด ณ ระดับราคาที่ท่านได้กำหนดไว้ล่วงหน้า

Stop Loss และ Take Profit

จุดทำกำไร (Take profit หรือ TP) และจุดตัดขาดทุน (Stop loss หรือ SL) เป็น 2 สิ่งที่สำคัญในการกำหนดเป้ากำไรและระดับการขาดทุนที่ท่านรับได้ ซึ่งควรมีการกำหนดเอาไว้ก่อนล่วงหน้า

ถ้าจะให้ดี ระดับ TP ควรอยู่เหนือกว่า 2-4 เท่าจากจุดเปิดออเดอร์และ stop loss เพื่อเป็นการลดโอกาสเสี่ยงในการเทรดขาดทุน และเพิ่มโอกาสในการทำกำไร ซึ่งหากออเดอร์ TP นั้นสำเร็จ กำไรทั้งหมดก็จะสามารถหักล้างกับการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นได้

ตัวอย่าง:

หากท่านตั้ง SL ที่ 10 pips ด้านล่างจุดเปิดออเดอร์ ท่านควรตั้ง TP ที่ 30 pips

แต่ก็มีเทรดเดอร์มืออาชีพบางรายที่หลีกเลี่ยงการใช้ stop loss และอาศัยการแก้แกมส์เทรดในจังหวะที่ราคาเกิดการกลับตัว ก่อนที่จะขาดทุนมากไปกว่านั้น

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เทรดเดอร์ควรพึงระลึกไว้ก็คือ ปริมาณความเสี่ยงในการเทรดไม่ควรเกิน 1-2% ของเงินที่ใช้ลงทุนสำหรับการเทรดหนึ่งๆ และเมื่อเทรดเดอร์เปิดคำสั่งซื้อขาย สิ่งแรกที่ท่านควรทำคือ การตั้งออเดอร์ stop loss จากนั้นจึงวางแผนสำหรับการกำหนดระดับ take profit

ควรเลือกลงทุนสินทรัพย์ใด

ขั้นแรก เลือกตราสารที่ท่านต้องการลงทุนเทรด เราขอแนะนำให้เทรดเดอร์เทรดทีละตราสารใน 1 grid เพราะการเทรดหลายๆ ตราสารอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงตามมา

None

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เทรดเดอร์ควรพิจารณาคือ ค่าสเปรดของสกุลเงินที่ท่านเลือก โดยระยะห่างใน grid ของท่านควรมีขนาดตามปริมาณวอลุ่มสเปรด

เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์ grid มักจะเลือกเทรดคู่เงินที่มีค่าสเปรดต่ำและมีความผันผวนสูง เช่น USD/JPY, EUR/USD หรือ EUR/JPY ซึ่งเป็นคู่เงินที่มีพฤติกรรมที่วิเคราะห์ได้ง่าย

ขนาดของ Grid

หลังจากเลือกตราสารที่จะเทรดแล้ว ถึงเวลากำหนดขนาด grid ตามที่ท่านต้องการ นั่นหมายความว่าเทรดเดอร์จะต้องเลือกว่าจะเปิดคำสั่งซื้อขายทั้งหมดกี่ออเดอร์ โดยท่านจะต้องเปิดออเดอร์ทั้งหมดพร้อมกัน และไม่ควรใช้ grid ในการตั้งออเดอร์เกินกว่า 10-15 ออเดอร์ เนื่องจากอาจทำให้การเทรดซับซ้อนมากเกินไป และทำให้เกิดความเสี่ยงในการเทรด

ระยะห่างระหว่าง Grid

ตามแพทเทิร์นโดยทั่วไปแล้ว: ยิ่งสเปรดกว้างเท่าไหร่ ระยะระหว่าง grid ก็ควรมีความห่างมากเท่านั้น

ระยะห่างมาตรฐานระหว่าง grid นั้นอยู่ที่ 10-20 pips ดังนั้น หากเทียบขนาดของระยะห่างของ grid กับจำนวนออเดอร์ตามที่กล่าวมาด้านบน (5-15 ออเดอร์) จะเห็นได้ว่าขนาด grid นั้นจะมีตั้งแต่ 50 ถึง 300 pips โดย grid จะมีทั้งแบบ Short term และ Long term ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้กลยุทธ์ grid นั่นเอง

อย่างไรก็ดี ในระหว่างทดลองใช้ระบบ grid และตั้งออเดอร์ เราขอแนะนำให้นักเทรดมือใหม่ค่อยๆ ทำกำไรเพื่อลดโอกาสในการเทรดขาดทุนที่ท่านไม่คาดคิด และอย่าลืมใช้ กลยุทธ์ Backtesting เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบ grid ที่ท่านใช้อยู่ ค่อยๆ เรียนรู้ไปเรื่อยๆ นะครับ ไม่ต้องรีบร้อน เมื่อพร้อมแล้วจึงค่อยเปิดบัญชีจริงเพื่อทำกำไรอย่างมั่นคง!

อย่าลืม! ติดตามการเรียนรู้เนื้อหา Forex ใหม่ๆ อัปเดตทุกสัปดาห์ที่ บทเรียน Forex

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน