Harmonic pattern เป็นหนึ่งในรูปแบบกราฟเทรดที่มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น โดยอาศัยระดับ Fibonacci และพฤติกรรมราคาที่มีความเชื่อมโยงรูปแบบเรขาคณิตเข้ามาเกี่ยวข้อง เราเรียกรูปแบบนี้ว่า harmonic pattern ตามชื่อของ Harold McKinley Gartley ผู้ที่คิดค้นทฤษฎีนี้ขึ้นมาครั้งแรกในปี 1932 โดยเขาได้เขียนอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพทเทิร์นดังกล่าวในหนังสือของเขาซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือเกี่ยวกับการเทรดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
เหตุผลที่เทรดเดอร์ควรใช้เครื่องมือที่มีความซับซ้อนนี้ เนื่องจากว่ามันสามารถใช้เพื่อระบุ PRZ (Potential Reverse Zone) เพื่อขยายโอกาสในการทำกำไร ลดความเสี่ยงจากการขาดทุน และเป็นจังหวะที่เหมาะสมสำหรับการเปิดออเดอร์นั่นเองครับ ตามที่เราได้กล่าวไปข้างต้นว่ากลยุทธ์นี้จะใช้ตัวเลข Fibonacci และแพทเทิร์นทางเรขาคณิตต่างๆ ในการคาดการณ์จุดที่ราคาอาจเกิดการเปลี่ยนแปลง (Price Turning Point)
แพทเทิร์น harmonic เพิ่มโอกาสให้เทรดเดอร์สามารถรับรู้จุดกลับตัวของราคา (Price Reversal) ล่วงหน้าได้ โดยอาศัยแพทเทิร์นดังกล่าวในการคาดการณ์ความเคลื่อนไหวของราคาจากส่วนต่างของมิติ (Magnitude), ความยาว (Length) และพารามิเตอร์ที่สำคัญอื่นๆ ที่เทรดเดอร์รายวันนิยมใช้กันในการคาดการณ์ราคาอย่างแม่นยำ ที่สำคัญการเทรดด้วยรูปแบบ harmonic ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการเทรดสินทรัพย์ได้หลายประเภท เช่น หุ้น, คู่เงิน, ออปชั่น และอื่นๆ อีกมากมาย
ยิ่งไปกว่านั้น รูปแบบ harmonic ยังได้รับการพิสูจน์ยืนยันในหมู่นักเทรดว่าเป็นเครื่องมือในการระบุการกลับตัวของราคาอย่างแม่นยำ นั่นก็เพราะว่ามันสามารถระบุและแสดงถึงความเคลื่อนไหวของราคาแบบเฉพาะเจาะจงมากเลยทีเดียวครับ
เมื่อเทรดด้วย harmonic pattern เทรดเดอร์จะต้องพบเจอกับประเภทของรูปแบบ harmonic ที่หลากหลาย ซึ่งก็มีทั้งรูปแบบที่มีประสิทธิภาพมากๆ และรูปแบบที่อาจไม่มีความแม่นยำมากเท่าไหร่นัก ดังนั้นในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงเกี่ยวกับรูปแบบของ harmonic pattern ที่นิยมใช้งานกันเป็นอย่างมากในหมู่นักเทรดหลายระดับมายาวนาน
แน่นอนว่า harmonic pattern ประเภทนี้ได้รับชื่อมาจากผู้คิดค้นอย่าง Gartley และได้เผยแพร่ลงในหนังสือของเขา ซึ่งแพทเทิร์นดังกล่าวอาศัยระดับ Fibonacci นั่นเองครับ โดยแพทเทิร์นนี้เป็นประเภทของตลาดขาขึ้น (Bullish) ที่ช่วยส่งสัญญาณอย่างแม่นยำเกี่ยวกับคลื่นราคาที่กำลังจะสิ้นสุดซึ่งอาจเกิดการพุ่งขึ้นของราคาตามมาหลังจากนั้น
แพทเทิร์นประเภท butterfly นี้จะมีความแตกต่างจากแพทเทิร์นก่อนหน้า โดยถึงแม้จะมีจุด D เหมือนกัน แต่จุด D นั้นขยายออกไปเลยจุด X ซึ่งแสดงให้เห็นรูปแบบขาลง (Bearish pattern) ที่ราคาอาจทะลุระดับตัวเลขดังกล่าวในที่สุด
อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์ต้องมั่นใจว่ามีสัญญาณยืนยันการย่อตัวของราคาเพื่อระบุขาลงที่ชัดเจนก่อนที่ท่านจะเข้าเทรดหรือเปิดออเดอร์ แล้วอย่าลืมตั้ง Stop loss เหนือระดับดังกล่าว (แต่ไม่สูงมากจนเกินไป) เพื่อป้องกันการขาดทุนด้วยล่ะครับ
เทรดเดอร์มักจะสับสนระหว่างประเภท harmonic pattern นี้กับประเภท Gartley ที่เราได้กล่าวมาก่อนหน้า เนื่องจากว่ามันมีลักษณะและโครงสร้างคล้ายๆ กัน แต่อย่าได้เข้าใจผิดไปล่ะครับ เพราะการวัดค่านั้นไม่เหมือนกันเลย
ว่ากันว่าเทรดเดอร์ส่วนใหญ่นิยมใช้ harmonic pattern รูปแบบ crab เพราะ มันเป็นหนึ่งในรูปแบบที่มีความถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด ด้วยตัวเลข Fibonacci ที่ใกล้เคียงมากที่สุดในการระบุการกลับตัวของราคา อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจสับสนระหว่างรูปแบบ crab กับ butterfly ด้วยหน้าตาที่คล้ายกัน แต่รูปแบบการวัดค่านั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ
ถึงแม้ harmonic pattern จะมีความแม่นยำมากๆ ในการคาดการณ์ความเคลื่อนไหวของราคาล่วงหน้า แต่ก็ใช่ว่ามันจะไม่มีข้อผิดพลาดเสียทีเดียว โดยแพทเทิร์น harmonic อาจชักนำให้เทรดเดอร์เทรดผิดพลาดได้หากท่านไม่รู้วิธีการอ่านแพทเทิร์นดังกล่าวอย่างถูกต้อง แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าแพทเทิร์นนี้มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการเทรด ดังนี้
ข้อดีของการเทรดด้วย Harmonic Pattern:
ข้อเสียของการเทรดด้วย Harmonic Pattern:
แน่นอนครับว่าหากเทรดเดอร์เรียนรู้วิธีใช้ harmonic pattern อย่างถูกต้อง ท่านก็จะสามารถรับรู้ความเคลื่อนไหวและการกลับตัวของราคาอย่างแม่นยำ อย่างไรก็ตาม ท่านจะต้องจับสัญญาณยืนยันการกลับตัวที่ชัดเจนให้ได้เสียก่อน แล้วอย่าลืมตั้งจุด stop loss ที่ไม่ห่างจากจุดกลับตัวเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเทรดขาดทุนเสมอล่ะครับ
ขอให้เทรดเดอร์ทุกท่านโชคดีกับการเทรด แล้วอย่าลืมหมั่นเพิ่มความรู้ในการเทรดเพิ่มเติม ด้วย คลาสสอนเทรดออนไลน์ และ บทเรียนการเทรด จาก MTrading ทุกครั้งที่ท่านมีข้อสงสัยใดๆ สามารถขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้จากทีมงานของเราผ่านทาง Live Chat บนหน้าเว็บไซต์ MTrading.com/th
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน