“Gap trading strategy” หรือ “กลยุทธ์การเทรดช่วง Gap” เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์เด็ดที่นักเทรดหุ้นต่างประเทศนิยมใช้เทรดกันทั้งในช่วงขาขึ้นและขาลง หลักการสำคัญของกลยุทธ์นี้ คือ การหาสินทรัพย์ที่เกิด Gap หรือช่องว่างราคา ซึ่งเป็นจังหวะที่ราคาเปิดโดดจากราคาปิดของวันก่อนหน้า จากนั้นลองวิเคราะห์กรอบความเคลื่อนไหวของราคาในชั่วโมงแรกๆ ของการเปิดตลาดแล้วหาสัญญาณในการซื้อ (เมื่อราคาพุ่งทะลุกรอบ) หรือขาย (เมื่อราคาร่วงหลุดกรอบลงไป)
บทความวันนี้ จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักเทคนิคการเทรด Gap แบบละเอียด! ทุกรูปแบบของตลาด Gap ที่นักเทรดควรรู้ เพื่อนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์การเทรดของท่าน และเพิ่มโอกาสในการเทรดตาม Gap ให้สำเร็จ
หลายท่านอาจยังไม่เข้าใจว่า Gap คืออะไร? Gap หมายถึง ช่องว่าง ซึ่งในแง่ของการเทรดก็คือจังหวะที่ตลาดเกิดช่องว่างจากราคาที่เปิดโดดจากราคาปิดของวันก่อนหน้านั่นเองครับ โดยเราแบ่งแพทเทิร์นของ Gap ราคาออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้:
จริงๆ แล้วยังมีรูปแบบ Gap อีกหลายแบบที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไป เพราะถ้าอาศัยการเทรดตามรูปแบบ Gap ทั่วไปก็อาจมีโอกาสน้อยที่ท่านจะเทรดได้สำเร็จตามเป้า นักเทรดส่วนใหญ่จะเลือกดู Gap อย่างน้อย 8 แบบขึ้นไป แล้วแต่สไตล์การเทรดของนักเทรดเหล่านั้น แต่ส่วนใหญ่ก็จะแบ่งลักษณะ Gap ออกเป็น Full gap และ Partial gap นั่นเอง
เพื่อให้เข้าใจการเทรดตาม Gap มากขึ้น ลองมาดูประเภทของ Gap และหลักการเทรด Gap แต่ละรูปแบบกันเลยครับ:
Full Gap Up Long
หากราคาเปิดของหุ้นในวันปัจจุบันสูงกว่าราคาปิดของวันก่อนหน้า ก็เป็นสัญญาณในการเปิดออเดอร์ Long หรือคำสั่งซื้อ โดยเทคนิคคือการใช้กราฟ 1 นาที แล้วตั้งออเดอร์ Stop loss เหนือราคา High ของหุ้นนั้นๆ
Full Gap Up Short
หากแรงซื้อไม่มากพอ มีโอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นจากราคาเปิดไปเล็กน้อย หรือราคาคงที่อยู่ที่ระดับเดิม ซึ่งนักเทรดหลายท่านอาจตีความผิดได้ว่าควรตั้งออเดอร์ Buy แต่ในความเป็นจริงแล้วท่านจะต้องเปิดออเดอร์ Short หรือคำสั่งขายแทน แล้วเฝ้าติดตามกราฟ 1 นาที เพื่อหาราคา Low ในช่วงเปิดตลาดและตั้ง Stop loss อย่างน้อย 2 ช่องจากระดับ Low นั้นๆ
Full Gap Down Long
การเทรดตาม Gap ต้องอาศัยการเรียนรู้และฝึกฝนพอสมควร เพราะยังมีปัจจัยข่าวเศรษฐกิจ การปรับโครงสร้างของบริษัท หรือการลดลงของรายได้ เป็นปัจจัยนอกเหนือที่ส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทนั้นๆ ร่วงตามอีกด้วย อย่างไรก็ดี ลักษณะของ Gap ประเภทนี้จะมีราคาที่ต่ำกว่าราคาของวันที่ผ่านมาและวันก่อนหน้านั้นด้วยเช่นกัน โดยราคาหุ้นอาจกระโดดขึ้นในช่วงชั่วโมงแรกๆ ของวันถัดไป หรือที่นักเทรดผู้เชี่ยวชาญเรียกกันว่า “Dead cat bouce”
Full Gap Down Short
หากราคาหุ้นย่อต่ำกว่าราคาของวันก่อนหน้า ท่านควรตั้งออเดอร์ Stop loss 2 ช่องจากราคา Low ในช่วงเปิดตลาด และเช่นเดิมครับ หมั่นติดตามกราฟ 1 นาทีหลังเวลา 10:30 GMT เป็นต้นไป
เอาล่ะครับ หลังจากทำความรู้จัก Full gap รวมถึงเทคนิคการเทรด Full gap ครบทุกแบบแล้ว ต่อไปลองมาดู Partial gap ทั้งแบบ Long gap และ Short gap กันบ้าง โดยถึงแม้โอกาสในการเทรดให้สำเร็จจาก Partial gap จะมีเยอะกว่า แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่มากกว่าเช่นกัน
ในขณะที่หุ้น Full gap มักจะเคลื่อนไหวไนทิศทางเดิมไปเรื่อยๆ แต่หุ้น Partial gap อาจค่อนข้างยากในการคาดเดา ทำให้การเทรดช่วง Partial gap มีความเสี่ยงมากกว่า แต่ก็มีโอกาสได้กำไรสูง ดังนั้น หากต้องการเทรดช่วงที่ตลาดเกิด Partial gap นักเทรดจะต้องเทรดอย่างระมัดระวัง และหมั่นจับตาดูความเคลื่อนไหวของราคาให้ดีๆ ที่สำคัญอย่าลืมตั้ง Trailling stop ที่ระหว่างระดับ 5% และ 6%
Partial Gap Up Long
หมั่นจับตาดูราคาหุ้นชั่วโมงแรกๆ ในช่วงที่ตลาดเปิดให้ดี หากราคาหุ้นสูงกว่าราคาปิดของวันก่อนหน้าแต่ต่ำกว่าราคา Low ของวันดังกล่าว เราเรียกลักษณะนี้ว่า Partial gap up และมีหลักการตั้งออเดอร์ Long แบบเดียวกับ Full gap
Partial Gap Up Short
หลักการเทรดตาม Partial gap up เหมือนกันกับ Full gap เลยครับ อีกทั้งนักเทรดต้องไม่ลืมที่จะใช้กราฟ 1 นาที เพื่อหาราคา Low ในช่วงเปิดตลาด และตั้งออเดอร์ Stop 2 ช่องจากราคา Low
รูปแบบ Partial gap down ทั้งแบบ Long และ Short มีวิธีการเทรดเหมือนกัน ตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น
แน่นอนว่าหากจะเทรดให้สำเร็จ นักเทรดจะต้องมีความมุ่งมั่น, ความตั้งใจ, มีระเบียบวินัยในการเทรด และหมั่นศึกษาข้อมูลในตลาดให้ดี โดยเฉพาะการอัปเดตข่าวสารของบริษัท รวมถึงผลประกอบการต่างๆ กลยุทธ์การเทรดตาม Gap บางแบบยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการเทรดได้อีกด้วย เพราะสามารถนำไปใช้เทรดจริงได้ในหลายๆ กรอบเวลา (Timeframe) ไม่ใช่แค่ Timeframe รายวันเท่านั้น แต่ยังใช้ร่วมกับกลยุทธ์การเทรดสั้นแบบอื่นๆ ได้เช่นกัน
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน