ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

เทคนิคเทรดตาม Bullish และ Bearish Pennant มือใหม่ต้องรู้!

Bullish และ Bearish pennant เป็นรูปแบบแนวโน้มขาขึ้นและขาลงแบบต่อเนื่องที่ใช้คาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ โดยแพทเทิร์นดังกล่าวเป็นตัวบ่งบอกรูปแบบความเคลื่อนไหววแบบต่อเนื่อง มีลักษณะคล้ายแพทเทิร์นสามเหลี่ยม (Triangle pattern) แต่ก็มีข้อแตกต่างบางอย่างที่นักเทรดควรทำความเข้าใจให้ละเอียด

None

ในบทความวันนี้ เราจะมาพูดถึงวิธีสังเกตแพทเทิร์นขาขึ้นและขาลงแบบต่อเนื่อง นักเทรดจะได้เข้าใจแพทเทิร์นต่างๆ มากยิ่งขึ้น รวมถึงเรียนรู้วิธีใช้แพทเทิร์นเหล่านี้เพื่อใช้เทรดให้เกิดกำไรและมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญเราจะมาอธิบายข้อแตกต่างระหว่างแพทเทิร์นสามเหลี่ยมและเทรนด์ขาขึ้นและลงแบบต่อเนื่องอย่างละเอียด

ทำความเข้าใจ Pennant Pattern

ก่อนจะไปลงลึกถึงรายละเอียดของ Pennant pattern แต่ละแบบ มาทำความเข้าใจก่อว่า Pennant pattern คืออะไร พูดให้เข้าใจง่ายๆ Pennant pattern คือรูปแบบต่อเนื่องที่ทำให้นักเทรดสามารถระบุโมเมนตัมที่ราคาสินทรัพย์นั้นๆ กำลังจะวิ่งขึ้นหรือลง ตามหลักทั่วไป ราคาจะมีการปรับตัวขึ้นหรือลง และจะมีการพักตัวหรือปรับตัวสวนทิศทางเดิมเล็กน้อยก่อนจะปรับตัวขึ้นหรือลงต่อ

เมื่อกราฟเกิดแพทเทิร์นดังกล่าว นักเทรดจะเห็นรูปแบบสามเหลี่ยมสมมาตรขนาดเล็กระหว่าวแท่งเทียนราคา ซึ่งมักเรียกกันว่า Pennant นั่นเอง แต่จะเป็นเทรนด์แบบ Bullish หรือ Bearish นั้นก็ต้องดูที่ทิศทางการเคลื่อนไหวของเทรนด์

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

องค์ประกอบและลักษณะสำคัญของ Pennant Pattern

ในการจำแนก Bullish pennant pattern หรือ Bearish pennant pattern นักเทรดจะต้องเข้าใจองค์ประกอบและลักษณะเฉพาะของแพทเทิร์นแต่ละแบบ ดังนี้:

  1. Flagpole - เช่นเดียวกับการแข่งขันใดๆ ที่จะเริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการชักธง รูปแบบ Bullish และ bearish pennant ก็จะเกิดขึ้นเมื่อมีธงสามเหลี่ยมปรากฎขึ้นในกราฟ ซึ่งจะบ่งบอกได้ว่าการเคลื่อนไหวของเทรนด์นั้นๆ มีความแข็งแกร่งมากแค่ไหน
  2. ระดับ Breakout - แพทเทิร์นนี้ประกอบไปด้วยระดับ Breakout หลักๆ สองระดับ โดยระดับแรกเกิดขึ้นเมื่อหลังกราฟทำรูปแบบธงสามเหลี่ยม และระดับที่ 2 จะเกิดขึ้นเมื่อราคามีการแกว่งตัวหรือพักฐานระยะสั้นๆ ก่อนจะตามด้วยการเคลื่อนไหวของเทรนด์อย่างต่อเนื่องจากแนวโน้มเดิม
  3. แพทเทิร์น Pennant - แพทเทิร์น Pennant เป็นรูปแบบธงสามเหลี่ยมสมมาตรที่เกิดหลังจากตลาดพักฐานชั่วคราว ระหว่างบริเวณเสาธงและตำแหน่งที่ตลาดพักฐาน

เอาล่ะ คราวนี้ได้มาดูรูปแบบ Bullish pennant และ Bearish pennant กันแบบละเอียด เพื่อนำแพทเทิร์นนี้ไปใช้เป็นกลยุทธ์ในการเทรด Forex ต่อไป

แพทเทิร์น Bullish Pennant

รูปแบบ Bullish pennant จะเกิดขึ้นเมื่อเทรนด์มีการเคลื่อนไหวเป็นขาขึ้นที่ชัดเจน โดย Bullish pennant จะมีลักษณะคล้ายๆ ธงสามเหลี่ยมที่เชิดขึ้น โดยราคาจะมีการแกว่งตัวแบบสั้นๆ ณ ระดับเดิม หรืออาจมีการย่อลงเล็กน้อยก่อนที่จะปรับเป็นเทรนด์ขาขึ้นที่ชัดเจนต่อหลังมีการ Breakout โดยเมื่อราคาเบรคทะลุไปแล้ว ก็เป็นสัญญาณให้นักเทรดตั้งคำสั่งซื้อ (Long sell) นั่นเอง

แพทเทิร์น Bearish Pennant

ตรงข้ามกับ Bullish pattern รูปแบบ Bearish pattern จะเกิดขึ้นเมื่อเทรนด์มีการเคลื่อนไหวเป็นขาลงอย่างชัดเจน โดยมีหลักการเหมือนกันแต่แตกต่างตรงที่ว่าธงสามเหลี่ยมจะลาดลง ซึ่งแสดงถึงราคาที่ปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว ก่อนจะมีการพักตัวชั่วคราวหรือปรับขึ้นเล็กน้อย จากนั้นก็จะเบรคทะลุขาลงเพื่อปรับตัวลงเป็นแนวโน้มขาลงต่อไป โดยเมื่อราคามีการ Breakout เทรดเดอร์จะต้องตั้งคำสั่งขาย (Short sell)

เคล็ดลับการเทรดด้วยแพทเทิร์น Bullish และ Bearish Pennant

ข้อดีคือเทรดเดอร์มือใหม่สามารถนำเทคนิคที่เราจะแนะนำไปใช้เทรดได้ทั้งในขาขึ้นและขาลง เพราะมีข้อแตกต่างแค่เพียงการตั้งออเดอร์ซื้อขายเท่านั้น หากเกิดแพทเทิร์น Bullish pennant นักเทรดจะต้องเปิดคำสั่งซื้อ (Long buy) แต่หากเป็นแพทเทิร์น Bearish pennant นักเทรดจะต้องเปิดคำสั่งขาย (Short sell)

อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่นักเทรดควรสังเกตให้ดีก็คือการยืนยันสัญญาณจากกราฟนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านคาดการณ์ว่าราคาจะมีการเคลื่อนไหวอย่างฉับพลันและชัดเจนหลังเบรคทะลุระดับต่างๆ โดยแพทเทิร์นแบบ Pennant จะใช้ระบุโมเมนตัมของการ Breakout ที่ชัดเจน ตามด้วยความการปรับขึ้นหรือลงแบบต่อเนื่องตามความเคลื่อนไหวของราคาในทิศทางเริ่มต้น

กลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงทั่วไปจะช่วยป้องกันความเสี่ยงในการขาดทุนได้ วิธีการที่ดีคือการวางคำสั่ง Stop-loss ที่ด้านล่างของแท่งเทียนที่คาดการณ์ว่าราคาจะเบรคทะลุระดับดังกล่าว โดยหากท่านต้องการกลยุทธ์การเทรดตามหลักทั่วไป ท่านควรวาง Stop Loss ด้านล่างกรอบสามเหลี่ยมเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

ที่สำคัญ นักเทรดจะต้องกำหนดระดับเป้าหมายล่วงหน้าจากแพทเทิร์นสามเหลี่ยมที่ปรากฎขึ้นในกราฟ โดยวัดระยะและปรับตามระดับการ Breakout ของแพทเทิร์น Pennant ถัดไป

สรุปง่ายๆ เกี่ยวกับ Pennant Pattern

ในการเทรดด้วยแพทเทิร์น Bearish pennant หรือ Bullish pennant สิ่งที่เทรดเดอร์ต้องระลึกไว้เสมอคือตลาดมักไม่เคยหยุดเคลื่อนไหว และในบางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาความเคลื่อนไหวของราคาได้ เป็นเหตุผลว่าทำไมนักเทรดจะต้องมีจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการขาดทุนนั่นเอง

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน