อินดิเคเตอร์ Stochastic จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องมือเชิงเทคนิคประเภท Oscillator หรือ เครื่องมือที่ใช้วัดโมเมนตัม เพื่อระบุระดับหรือตำแหน่งที่แนวโน้ม หรือ เทรนด์จะไปบรรจบ โดยเครื่องมือ stochastic นี้จะใช้พิจารณา 2 กรณีสำคัญ ได้แก่ การพิจารณาว่าราคาจะแกว่งตัวอยู่ ณ ตำแหน่งเดียวกับราคาปิด หรือ เหนือกว่าราคาปิด ในช่วงขาขึ้น (Uptrend) และการพิจารณาว่าราคาจะกลับตัวลงไปใกล้เคียงกับราคาปิด หรือ ต่ำกว่าราคาปิด ในช่วงขาลง (Downtrend)
อินดิเคเตอร์ stochastic นี้ถูกคิดค้นขึ้นมาในช่วงปี 1950 และยังคงนิยมใช้งานกันอย่างต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน เนื่องจากวิธีการศึกษาที่ง่าย และได้ผลจริง แต่ไม่ต้องกังวลใจไป หากท่านยังไม่รู้จักเครื่องมือ momentum ชนิดนี้ เพราะบทความนี้มีคำตอบเกี่ยวกับ วิธีการใช้งานอินดิเคเตอร์ stochastic ในสภาวะตลาดจริง พร้อมเทคนิคการใช้งานแบบละเอียด!
อินดิเคเตอร์ stochastic ใช้สำหรับวัดการเปลี่ยนแปลงของราคา จากราคาปิดหนึ่งๆ เปรียบเทียบกับราคาในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้เทรดเดอร์เข้าใจได้ว่า เทรนด์จะเคลื่อนที่อย่างไรต่อไป และเทรนด์จะเคลื่อนที่ไปในทิศทางใดในอนาคตนั่นเอง
อินดิเคเตอร์นี้อาศัยเส้น 2 เส้น เช่นเดียวกับในกราฟ MACD ที่นักเทรดทุกท่านน่าจะคุ้นตากันเป็นอย่างดี โดยเส้นหนึ่งจะเคลื่อนที่เร็วกว่าอีกเส้นหนึ่ง ดังนั้น เทรดเดอร์จะต้องเรียนรู้ วิธีการอ่านอินดิเคเตอร์ stochastic ที่ถูกต้อง เพื่อคาดการณ์ความเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
อินดิเคเตอร์ stochastic จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100 ซึ่งการทำงานนั้นเหมือนกับเครื่องมือ momentum ชนิดอื่นๆ ที่สามารถระบุได้ว่าตลาดนั้นอยู่ในสภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือ ขายมากเกินไป (Oversold) นั่นเอง โดยการจะอ่านอินดิเคเตอร์ stochastic นั้น ท่านจะต้องพิจารณากรณีต่างๆ ดังนี้:
สิ่งสำคัญก็คือ เทรดเดอร์จะต้องเข้าใจหลักการทำงานของอินดิเคเตอร์ stochstic ว่าอินดิเคเตอร์นี้มีระยะเวลาหลักๆ ในการพิจารณาราคาอยู่ในกรอบ 14 วัน ซึ่งนั่นหมายความว่า อินดิเคเตอร์จะแสดงการเคลื่อนไหวของราคาในปัจจุบัน เปรียบเทียบกับราคาใน 14 วันที่ผ่านมานั่นเอง
ข้อควรรู้: ตลาดสภาวะ Oversold ไม่ได้เป็นการบ่งบอกว่าตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้น (Bullish market) เสมอไป ในขณะเดียวกัน สภาวะ Overbought เองก็ไม่ได้เป็นตัวยืนยันว่าตลาดอาจกำลังอยู่ในช่วงขาลง (Bearish market) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น และอินดิเคเตอร์เองก็อาจแกว่งตัวอยู่ในระดับเดิมตลอดระยะหรือกรอบเวลาที่ท่านกำหนด อย่างไรก็ตาม ท่านจะต้องคอยติดตามทิศทางของเทรนด์ในระหว่างการเทรดให้ดี และจับตาสัญญาณ overbought หรือ oversold ในระหว่างที่เกิดเทรนด์ใดๆ ก็ตาม
อินดิเคเตอร์ stochastic พร้อมให้ใช้บริการแล้ว บน MetaTrader 4 ดาวน์โหลดได้ฟรี!
โดยทั่วไปแล้ว เทรดเดอร์มักจะตั้งออเดอร์ซื้อ เมื่อตลาดเข้าสู่สภาวะ oversold หรือตั้งออเดอร์ขาย เมื่อตลาดเข้าสู่สภาวะ overbought แต่อย่างไรก็ตาม หากตลาดอยู่ในสภาวะใดสภาวะหนึ่งเป็นเวลานานจนเกินไป ก็อาจมีการกลับตัวเกิดขึ้นได้ เร็วกว่าที่ท่านจะรู้ตัวเสียอีก
ดังนั้น สิ่งสำคัญก็คือ การคาดการณ์จังหวะที่ดีที่สุดในการเปิด หรือ ปิด position ให้ได้ โดยการหมั่นศึกษา 'สัญญาณการกลับตัว (Divergence)' อยู่เป็นประจำ ซึ่งจะช่วยระบุตำแหน่ง High และ Low ของเทรนด์ เพื่อให้เทรดเดอร์สามารถเลือกตำแหน่งในการตั้งออเดอร์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมในที่สุด และที่สำคัญ สัญญาณการกลับตัวยังสามารถใช้เพื่อคาดการณ์รูปแบบความเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตได้อีกด้วย
เทรดเดอร์มักจะคุ้นชินกับราคาที่เคลื่อนไปในทิศทางเดียวกับอินดิเคเตอร์ แต่สัญญาณการกลับตัว ซึ่งหมายถึง ทิศทางราคาที่สวนทางกับทิศทางของอินดิเคเตอร์ และก่อให้เกิดระดับต่ำสุด หรือ ระดับสูงสุดใหม่ในที่สุด หรือหากจะพูดให้เข้าใจได้โดยง่ายก็คือ เราจะเห็นสัญญาณการกลับตัว หรือ divergence เกิดขึ้น เมื่อราคาของสินทรัพย์ และอินดิเคเตอร์นั้นไม่สอดคล้องกันนั่นเอง
ตัวอย่าง: สมมุติว่าท่านกำลังพิจารณากราฟคู่เงินที่มีสัญญาณการกลับตัวเกิดขึ้น และราคากำลังดิ่งลงทำจุดต่ำสุดใหม่ แต่ในขณะเดียวกัน อินดิเคเตอร์กลับพุ่งสูงขึ้นเพื่อทำจุดสูงสุดใหม่แทน นี่คือจังหวะที่ราคาและอินดิเคเตอร์สวนทิศทางกัน ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกว่าราคากำลังจะเริ่มเทรนด์ขาขึ้นใหม่ พร้อมทั้งรูปแบบการกลับตัวลงที่เปลี่ยนแปลงไปจากการจบเทรนด์เดิมที่ผ่านมา
อินดิเคเตอร์ stochastic เป็นหนึ่งในเครื่องมือ oscillator หรือ อินดิเคเตอร์ momentum ที่เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่นักเทรด เนื่องจากการใช้งานที่สะดวก สามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย และประกอบด้วยเส้นเพียง 2 เส้น ที่ช่วยบ่งบอกสภาวะตลาดว่ากำลังเข้าสู่ overbought หรือ oversold ทั้งนี้ เทรดเดอร์บางท่านอาจใช้เครื่องมือดังกล่าวในการระบุสัญญาณการกลับตัว หรือ divergence จากการสวนทิศทางของอินดิเคเตอร์และราคา ได้เช่นกัน
นับเป็นเรื่องดีสำหรับการเทรด ที่เทรดเดอร์สามารถใช้งานเครื่องมือเทรดอีกหนึ่งชนิด ซึ่งมีความยืดหยุ่น และสามารถนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์เทรดต่างๆ ได้ ท่านสามารถนำอินดิเคเตอร์นี้ไปประยุกต์ใช้กับระบบการเทรดของท่าน แต่อย่างไรก็ตาม อย่ามองข้ามการบริหารความเสี่ยงทุกครั้งที่ท่านเทรดล่ะครับ เพราะไม่ว่าท่านจะใช้เครื่องมือ oscillator ใดก็ตาม พึงระลึกไว้เสมอว่า เครื่องมือเหล่านั้นอาจส่งสัญญาณหลอก (False signal) ได้เสมอ ดังนั้น โปรดมั่นใจว่าสัญญาณเหล่านั้นมีความแม่นยำจริงๆ ก่อนที่ท่านจะตั้งออเดอร์ใดๆ ก็ตาม
MTrading ขอให้ทุกท่านเทรดอย่างระมัดระวัง และประสบผลสำเร็จในการเทรดในที่สุดนะครับ!
ทุกครั้งที่ท่านสงสัยเกี่ยวกับเทคนิคการเทรด อย่าลืมว่า ห้องเรียน forex ของเรา ยินดีเปิดต้อนรับท่านเสมอ
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน