ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

“เทรดเดอร์” คือใคร? – เข้าใจลักษณะและประเภทของ “นักเทรด”

ได้ยินชื่อเทรดเดอร์มานักต่อนักแล้ว ว่าแต่… “เทรดเดอร์” ที่ว่านั้นคือใคร? การจะเป็นเทรดเดอร์อยู่ในตลาดการลงทุนได้นั้นมีความยากง่ายยังไง? เอาล่ะ วันนี้เราจะพาทุกท่านไปลงลึกถึงรายละเอียดของการเป็นเทรดเดอร์ ว่าเทรดเดอร์มีกี่ประเภท? แตกต่างกันอย่างไร? แล้วใช้กลยุทธ์เทรดแบบใดกันบ้าง? ถ้าพร้อมแล้ว... ไปลุยกันเลย!!

None

“เทรดเดอร์” หรือ “นักเทรด” อาจหมายถึงคนทั่วไปที่สนใจการลงทุน หรือจะเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการด้านการเงินการลงทุนก็ได้เช่นกัน โดยคนกลุ่มนี้มีเป้าหมายในการซื้อขายสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อทำกำไรจากสินทรัพย์เหล่านั้น อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทแตกต่างกันไปตามรูปแบบ เทคนิค และสไตล์การเทรดนั่นเอง

เป็นเทรดเดอร์แบบไหน? รู้ได้อย่างไร?

เทรดเดอร์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่:

  1. เทรดเดอร์ประเภทแรก คือ เทรดเดอร์ที่ทำงานอยู่ในแวดวงการเงินการลงทุนอยู่แล้ว โดยเทรดเดอร์กลุ่มนี้จะคอยบริหารทุนหรือการซื้อขายสินทรัพย์ของบริษัทที่ตัวเองทำงานอยู่ และหากทำกำไรให้บริษัทได้ เทรดเดอร์ก็จะได้เงินโบนัส หรือคอมมิชชั่น เป็นผลตอบแทน
  2. เทรดเดอร์ประเภทต่อมา คือ เทรดเดอร์ที่เทรดเพื่อตัวเอง โดยใช้เงินทุนของตัวเองในการซื้อขายสินทรัพย์ต่างๆ และเมื่อเทรดได้กำไร กำไรนั้นก็จะเป็นของเทรดเดอร์เพียงคนเดียวโดยไม่ต้องไปคอยแบ่งให้ใคร (แต่อาจจะต้องมีการจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับโบรกเกอร์ออนไลน์ที่ให้บริการ)

อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบันทำให้การเข้าถึงแพลตฟอร์มและซอฟต์แวร์เทรดออนไลน์กลายเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น การเทรดด้วยตัวเองจึงกลายเป็นตัวเลือกการลงทุนที่ดี เพราะเดี๋ยวนี้มีโบรกเกอร์ออนไลน์มากมายมอบเงื่อนไขเทรดที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นโบนัสการเทรด, คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และ การวิเคราะห์ตลาด, การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค และเครื่องมือการเทรดอื่นๆ ที่ทำให้นักเทรดเริ่มต้นเทรดได้ง่ายๆ ถึงแม้จะมีประสบการณ์ด้านการเทรดไม่มาก หรือแม้กระทั่งไม่เคยมีพื้นฐานการเทรดมาก่อน เพราะโบรกเกอร์ของเรามีเนื้อหาเทรดออนไลน์ให้ท่านเรียนรู้ด้วยนะครับ

บริษัทหลักทรัพย์ (โบรกเกอร์) vs แพลตฟอร์มเทรดออนไลน์

ก่อนจะไปลงลึกถึงการวิเคราะห์สัญญาณซื้อขาย อินดิเคเตอร์เชิงเทคนิค และกราฟราคา สิ่งแรกที่ท่านจะต้องทำ คือ เลือกแพลตฟอร์มเทรดที่ไว้วางใจได้ โดยหากท่านกำลังมองหาผู้ให้บริการการเทรดที่คิดค่าคอมมิชชั่นไม่มาก ท่านก็อาจเลือกใช้บริการบริษัทหลักทรัพย์ที่คิดค่าธรรมเนียมน้อย แต่ก็อาจมีข้อเสียตรงที่ว่าบริษัทเหล่านั้นจะไม่ได้มีบริการอำนวยความสะดวกของนักเทรดมากมาย ไม่มีผู้คอยให้คำปรึกษา ทำให้นักเทรดจำเป็นต้องศึกษาการเทรด และคอยช่วยเหลือตัวเองเกือบทั้งหมด ซึ่งก็อาจใช้เวลามากหน่อยในการสั่งสมประสบการณ์

และแน่นอนว่าโบรกเกอร์ออนไลน์นั้นแตกต่างจากบริษัทหลักทรัพย์ทั่วไปอย่างชัดเจน ด้วยบริการสำหรับนักเทรดที่มีให้เลือกเยอะมาก พร้อมเงื่อนไขและเครื่องมือเทรดที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็น บัญชีมาร์จิ้น, สเปรดต่ำ เริ่มต้นที่ 0, เครื่องมือเทรดมากมาย รวมทั้ง เนื้อหาการเรียนรู้การเทรด ที่มีประโยชน์ต่อนักเทรดเป็นอย่างมาก และที่สำคัญคือโบรกเกอร์ออนไลน์มักจะมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกเทรดมากมาย ไม่ใช่เพียงแค่คู่เงิน และดัชนีตลาดทั่วไป แต่ยังมีสินค้าโภคภัณฑ์, หุ้น และ CFDs เป็นต้น ด้วยค่าคอมมิชชั่นที่ถูกมากๆ

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ประเภทหลักของนักเทรด มีอะไรบ้าง?

จะเป็นเทรดเดอร์ประเภทใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าท่านเลือกใช้กลยุทธ์เทรดแบบใด เนื่องจากรูปแบบนักเทรดจะมีผลต่อสไตล์การเทรด, ระยะเวลาการเทรด, วิธีบริหารความเสี่ยง และองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ในการเทรด โดยประเภทนักเทรดที่หลายท่านอาจรู้จักกันดี ได้แก่:

  1. นักเทรด Scalp – หรือนักเทรดที่เน้นเปิดออเดอร์เล็กๆ แต่เน้นเปิดหลายออเดอร์ในระยะเวลาสั้นๆ
  2. นักเทรด Momentum – นักเทรดที่เฝ้าติดตามเทรดหุ้นที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดิมซ้ำๆ
  3. นักเทรดเชิงเทคนิค – นักเทรดที่เทรดโดยอาศัยการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคจากกราฟราคาเป็นหลัก รวมถึงการใช้งานอินดิเคเตอร์ หรือเครื่องมือช่วยวิเคราะห์กราฟเพื่อหาสัญญาณเทรดและเข้าใจภาพรวมของตลาด แล้วจับจังหวะที่ดีที่สุดในการเปิดและปิดออเดอร์ซื้อขาย
  4. นักเทรดตามปัจจัยพื้นฐาน – นักเทรดที่ติดตามข่าวปัจจัยพื้นฐานต่างๆ เช่น รายงานผลประกอบการ เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ และองค์ประกอบพื้นฐานอื่นๆ
  5. นักเทรด Swing – ต่างจากนักเทรด Scalp ตรงที่ว่านักเทรดประเภทนี้จะถือออเดอร์เทรดเป็นเวลานานกว่า เพื่อรอให้ราคาเข้าเงื่อนไขตามเทรนด์นั่นเอง

ทั้งนี้ การเป็นนักเทรดแต่ละประเภทก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป เช่น ในขณะที่นักเทรด Scalp มีความเสี่ยงมากกว่า แต่มีโอกาสได้กำไรเยอะกว่า แต่นักเทรดที่เทรดในระยะยาวก็อาจมีข้อดีตรงที่เจอความเสี่ยงน้อยกว่า แต่กำไรก็จะน้อยตามนั่นเอง

บทสรุปเกี่ยวกับเทรดเดอร์

ทุกวันนี้ ใครๆ ก็สามารถเป็นเทรดเดอร์ได้ถึงแม้ว่าจะมีประสบการณ์หรือความรู้ด้านการเทรดไม่มาก เพราะไม่ต้องมีทักษะเทรดที่พิเศษมากมายก็เทรดได้แล้ว ที่สำคัญ การเปิดบัญชีเทรดกลายเป็นเรื่องง่ายๆ ทุกคนสามารถเปิดบัญชีเทรด, เลือกตราสารที่ต้องการเทรด และเริ่มเปิดคำสั่งซื้อขายได้ทันที แต่ก็แน่นอนว่าการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเทรดก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้น นักเทรดควรเลือกใช้บริการจากโบรกเกอร์ที่มีแหล่งการเรียนรู้ให้กับเทรดเดอร์มือใหม่ เพื่อจะได้เข้าใจกลไกของตลาด รวมถึงปัจจัยต่อราคา และวิธีการเทรดตราสารต่างๆ

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน