“การลดค่าเงิน” หรือ “Devaluation” คือ กระบวนการในการลดมูลค่าเงินตรา โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ออกมาตรการในการลดค่าเงินเพื่อป้องกันการอ่อนค่าของเงินดังกล่าว และเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ในประเทศซึ่งจะบ่งบอกความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ ได้
โดยในบทความวันนี้ เราจะมาสืบหาสาเหตุว่าทำไมต้องมีการลดค่าเงิน? พร้อมหาคำตอบว่าการลดค่าเงินนั้นดีหรือไม่ดี และจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อภาวะเศรษฐกิจ ยิ่งไปกว่านั้น ท่านจะได้เข้าใจการลดค่าเงินมากขึ้นจากตัวอย่างที่เราเตรียมไว้ให้ ถ้าพร้อมแล้ว… ไปลุยกันเลย!
ในบางจังหวะ รัฐบาลอาจจำเป็นต้องออกนโยบายในการลดมูลค่าของสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อให้ชาวต่างชาติสามารถซื้อหรือเข้าถึงสินค้าและบริการเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ประชาชนของประเทศนั้นๆ จะต้องเผชิญกับวิกฤตเนื่องจากราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น ทำให้การส่งออกนั้นเติบโตในขณะที่ยอดการนำเข้าตกฮวบ แต่เมื่อผ่านช่วงวิกฤตนั้นไปได้ เศรษฐกิจในประเทศก็จะเติบโตขึ้นในไม่ช้า
หากจะพูดให้เข้าใจโดยง่าย นโยบายการลดค่าเงินเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความสมดุลทางเศรษฐกิจ ดังที่เห็นได้ชัดเจนจากในยุคที่เกิด Great Depression หรือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่นั่นเอง โดยในปัจจุบัน นโยบายดังกล่าวถูกนำมาใช้เพื่อเชิญชวนให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจต่างๆ ได้ในราคาที่ถูกลง ลงทุนได้ง่ายขึ้น แต่ผลเสียก็จะตกไปอยู่ที่ประชาชนในประเทศแบบเต็มๆ ด้วยอัตราการจ่ายเงินค่าจ้างหรือเงินเดือนที่ลดลง แต่มีค่าครองชีพที่สูงขึ้น
สมมุติเดิมท่านสามารถนำเงิน 1 บาลโบปานามา (Panama balboa) ไปแลก 1 ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ได้ แต่แล้ว เมื่อรัฐบาลของปานามาตัดสินใจเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน และใช้นโยบายปรับลดค่าเงินลง 50% สำหรับผู้บริโภคแล้ว นั่นหมายความว่า 1 ดอลลาร์นั้นจะเท่ากับ 2 บาลโบปานามานั่นเอง
การลดค่าเงินจะมีข้อดีหรือข้อเสียนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าใครได้รับประโยชน์จากการลดค่าเงินและใครที่ได้รับผลเสียจากนโยบายดังกล่าว อย่างที่เราได้บอกไปแล้วว่าธุรกิจกิจการต่างๆ ก็มีโอกาสเติบโตขึ้นจากการที่ชาวต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนได้ง่ายขึ้น แต่ประชาชนทั่วไปก็จะต้องเดือดร้อนจากผลเสียที่ตามมา:
แน่นอนว่าการ “เพิ่มค่าเงิน” หรือ “Revaluation” นั้นเป็นนโยบายตรงกันข้ามกับการลดค่าเงิน โดยรัฐบาลจะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยคงที่และใช้กลยุทธ์ที่ทำให้ค่าเงินแข็งค่าเพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือมูลค่าสินค้าและบริการนั้นจะสูงขึ้นไม่ว่าจะสำหรับนักลงทุนต่างชาติหรือคนในประเทศก็ตาม
สงครามค่าเงิน (Currency war) เป็นการทำสงครามของประเทศต่างๆ โดยการแข่งกันลดค่าเงินของประเทศตัวเองเพื่อกระตุ้นยอดส่งออกและทำให้เศรษฐกิจในประเทศเติบโตขึ้น โดยนักวิเคราะห์มักกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าช่วงที่มีสงครามค่าเงินนั้นจะสร้างความผันผวนให้กับตลาดคู่เงินหรือ Forex
ถึงแม้ส่วนใหญ่สงครามค่าเงินจะทำให้เศรษฐกิจของประเทศคู่แข่งทั้งหมดถดถอยชั่วคราว แต่ก็มีบางประเทศที่ได้เปรียบจากสงครามดังกล่าว และทำให้ประเทศคู่แข่งเสียเปรียบทางเศรษฐกิจแทน แต่เราก็อาจยังไม่สามารถสรุปผลของสงครามค่าเงินได้จริงๆ เนื่องจากยังไม่เคยมีสงครามค่าเงินที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่รุนแรงอย่างชัดเจนนั่นเองครับ
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน