เทรดเดอร์ทุกรายเข้ามาเทรด forex ด้วยความหวังว่าจะได้กำไรกลับไปแบบง่ายๆ ชัวร์ๆ แต่ลืมไปเลยว่า ทุกการลงทุนล้วนมีความเสี่ยงทั้งสิ้น ดังนั้น บทความนี้จะพูดถึงรูปแบบความเสี่ยงส่วนใหญ่ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการเทรด forex ตัวอย่างเช่น ความเสี่ยงจากเลเวอเรจ และความเสี่ยงจากสถานการณ์การเมือง เป็นต้น เพื่อให้เทรดเดอร์มือใหม่ระมัดระวังและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเหล่านั้นได้ มาทำความเข้าใจความเสี่ยงให้มากขึ้น พร้อมวิธีรับมือกับความเสี่ยงเหล่านั้นให้อยู่หมัด!
ปัญหาหลัก:
ความเสี่ยงจากระบบชำระเงิน (Transaction) ที่ว่า มาจากอัตราแลกเปลี่ยนนั่นเองครับ โดยมักจะเกิดขึ้นจากเวลาที่แตกต่างกัน ระหว่างจังหวะที่เริ่มเปิด position และระหว่างเปิด position ได้สำเร็จ
เนื่องจากตลาด forex นั้นเปิดตลอด 24 ชั่วโมง อัตราแลกเปลี่ยนก็จะเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ก่อนที่การเทรดของท่านจะสิ้นสุดลง ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงอาจเทรดสกุลเงินเหล่านั้นได้ในราคาที่แตกต่างกันไปตามเวลาที่ต่างกันในระหว่างการเทรด
ยิ่งระยะเวลาระหว่างการเปิดและปิด position นั้นห่างกันมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงจากการ transaction ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น เพราะระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นจะเป็นจังหวะที่ค่าเงินต่างๆ มีความผันผวนได้อยู่เสมอ ซึ่งนี่ถือเป็นเรื่องธรรมดา ที่ไม่ว่าจะนักเทรดหน้าเก่าหรือหน้าใหม่ต้องพบเจอ
ปัญหาหลัก:
ความน่าไว้วางใจ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ในตลาด forex ก็เช่นกัน ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องความมีความเชื่อใจซึ่งกันและกัน เมื่อท่านทำการเทรด ท่านจะต้องมั่นใจว่าอีกฝ่ายจะทำให้การซื้อขายของท่านสำเร็จด้วยการจ่ายเงินตอบแทน แต่หากพวกเขาไม่สามารถจ่ายให้ท่านได้ล่ะก็… ความเสี่ยงกำลังมาเยือนแล้วล่ะ!
ยกตัวอย่าง: โบรกเกอร์บางรายอาจเกิดการล้มละลายได้ ดังนั้น ท่านจะต้องตรวจสอบว่าบริษัทที่ท่านเทรดด้วยนั้น ได้รับการรับรองจากองค์กรใดๆ ที่น่าเชื่อถือหรือไม่ เช่น องค์กร Financial Commission เป็นต้น
ปัญหาหลัก:
ความเสี่ยงในการเทรด forex เนื่องจากสถานการณ์การเมืองนั้นมีอยู่เสมอและไม่เคยหายไปจากตลาด forex เลย เนื่องจากการประกาศต่างๆ อย่างเร่งด่วนจากทั่วโลกนั้นเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง และส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยฉับพลัน ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ตลาด forex จะได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน เพราะเทรดเดอร์ส่วนมากก็เทรดตามข่าวการเปลี่ยนแปลงล่าสุด หรือการคาดการณ์ที่บางครั้งก็คลาดเคลื่อนไปเพราะการประกาศเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น สังเกตุจากการที่โดนัลด์ ทรัมป์ ทวีตข้อความบนทวิตเตอร์ บ่อยครั้งที่คำพูดของเขาส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลก และแม้บางครั้งเขาอาจเพียงแค่แถลงการณ์ต่างๆ แต่ส่วนใหญ่ข้อความที่เขาโพสต์ก็มักจะเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ที่ถึงแม้จะยืนยันสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ได้เลย แต่เทรดเดอร์ก็มักจะโดนปั่นหัวเล่นได้ง่ายๆ อยู่เสมอ
ตัวอย่างเช่น: เทรดเดอร์บางรายอาจจะมองในแง่บวก และทำการเทรดปริมาณมหาศาลโดยไม่รีรอ ในขณะที่เทรดเดอร์คนอื่นๆ เลือกที่จะรอ แล้วค่อยเทรดทีหลัง เนื่องจากตำแหน่งการเป็นประธานาธิบดีสหรัฐของทรัมป์ทำให้ทุกอย่างที่เขาทวีตนั้นทรงพลังต่อตลาดการเงินเหลือเกิน
ปัญหาหลัก:
เมื่อท่านเริ่มเทรดในตลาด forex ท่านจะต้องฝากเงินในการลงทุนขั้นต้น ซึ่งเรียกกันว่า 'มาร์จิ้น (Margin)' นั่นเอง โดยจุดประสงค์ของการกำหนดมาร์จิ้นก็เพื่อให้ท่านมีโอกาสเทรดได้ใน position หลายๆ ขนาด ในคู่เงินที่แตกต่างกันออกไป
ในระหว่างการเทรด อาจมีโอกาสที่ราคาจะเกิดความผันผวนมากเสียจนเกิด 'มาร์จิ้นคอล (Margin call)' ซึ่งมาร์จิ้นคอลนี้เอง เป็นจังหวะที่นักลงทุนจะต้องจ่ายเงินชดเชยมาร์จิ้นเพิ่มเติมในขณะที่จำนวนเงินในบัญชีลดลงถึงจุดที่กำหนดไว้
เมื่อตลาดมีความผันผวนสูง ความเสี่ยงจากเลเวอเรจก็ย่อมเกิดขึ้นได้ ซึ่งนั่นมีนัยว่า ด้วยความเคลื่อนไหวของตลาดที่รวดเร็วเสียจนรับมือไม่ทัน อาจทำให้เทรดเดอร์สูญเสียเงินจำนวนมหาศาลได้ภายในพริบตา และอาจเป็นการยากที่จะกู้คืนเงินที่ขาดทุนไป หรือแม้แต่การเตรียมป้องกันความเสี่ยงในอนาคต
ปัญหาหลัก:
ก่อนอื่นเลย เทรดเดอร์ควรตระหนักว่าอัตราดอกเบี้ยนั้นมีผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนของประเทศต่างๆ หากอัตราดอกเบี้ยของประเทศนั้นๆ เพิ่มขึ้น ค่าเงินก็จะมีโอกาสแข็งค่าขึ้นเช่นกัน เนื่องจากอาจเป็นไปได้ที่จะมีการลงทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศในสินทรัพย์ต่างๆ ของประเทศดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น
การลงทุนที่เพิ่มขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจากการที่นักลงทุนเชื่อว่าค่าเงินนั้นแข็งค่าขึ้น และอาจมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นในวันข้างหน้า
ในทางกลับกัน หากอัตราดอกเบี้ยของประเทศดังกล่าวลดน้อยลง ค่าเงินของประเทศนั้นก็จะอ่อนค่าลง ทำให้นักลงทุนทยอยพากันชะงักการลงทุนในสินทรัพย์ของประเทศนั้นๆ ในที่สุด
เหตุการณ์เหล่านี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาตลาด forex และจังหวะนี้เองที่เป็นตัวสร้างความผันผวนในตลาด ซึ่งอาจกลายเป็นโอกาสในการทำกำไรของใครหลายๆ คน และในขณะเดียวกัน มันก็อาจเป็นจังหวะที่เทรดเดอร์บางคนเทรดขาดทุนได้เช่นกัน
การ Hedging เป็นหนึ่งในวิธียอดนิยมในการป้องกันความเสี่ยงจากการเทรด forex และนับว่าเป็นวิธีที่ได้ผลดีมากๆ ในการลดความเสี่ยงจากการสูญเสียเงินทุนจำนวนมากระหว่างการเทรด forex ว่าแต่ hedging คืออะไรกันนะ?
การ hedging ก็คือ วิธีการปกป้องการเทรดคู่เงินของท่านจากวิกฤติความเคลื่อนไหวของตลาดที่อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อ position ที่ท่านถือไว้ โดยทั่วไป เทรดเดอร์มักใช้ 2 กลยุทธ์หลักๆ ในการ hedging ระหว่างการเทรดคู่เงิน forex ได้แก่
หากเทรดเดอร์กำลังเปิดออเดอร์ short คู่เงินหนึ่งๆ อยู่ ท่าจอาจเลือกที่จะเปิดออเดอร์ long ถือไว้ด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการขาดทุน หากราคาของคู่เงินดังกล่าวอยู่ในช่วง 'ขาขึ้น'
ก่อนจะจากกัน เราขอย้ำเตือนอีกทีว่า ไม่มีอะไรที่จะได้มาง่ายๆ โดยไม่ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยง การเทรด forex ก็เช่นกัน มักมีความเสี่ยงมากมายที่รอทดสอบความสามารถในการเทรดของทุกท่านอยู่เสมอ แต่เชื่อเถอะครับว่า ท่านสามารถลดละหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเหล่านั้นได้ หากท่านมั่นใจว่าท่านมีความระมัดระวังมากเพียงพอ และอย่าลืมใช้ตัวช่วยในการเทรดอย่าง Stop loss อย่างสม่ำเสมอล่ะครับ เราขอสนับสนุนให้เทรดเดอร์ทุกท่านเทรดอยู่ในความไม่ประมาทนะครับ
และที่สำคัญเลยก็คือ อย่ากังวลความเสี่ยงมากจนเกินไปล่ะครับ แต่พยายามเรียนรู้และเข้าใจความเสี่ยงเหล่านั้นให้ดี เพื่อให้ท่านสามารถเอาชนะมันได้ในที่สุด ใช้ทุกกลยุทธ์ที่ท่านมีในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเหล่านั้น แล้วอย่าลืมเฝ้าจับตามองการเทรดของท่านอย่างใกล้ชิด!
หากท่านมั่นใจว่าท่านจะสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้ และมีโอกาสที่จะทำกำไรได้จริงในตลาด forex ล่ะก็ เราขอแนะนำให้ท่านเริ่มเทรดบน MetaTrader 4 แพลตฟอร์มเทรดชั้นนำ ผ่าน บัญชีจริง กับ MTrading ได้เลย แต่ถ้าท่านยังคงอยากที่จะฝึกฝนทักษะการเทรดของท่านอยู่ ก็เปิด บัญชีเดโม่ กับเรา แล้วมาประลองฝีมือของท่านด้วยเงินจำลองที่เรามอบให้ แล้วทดลองเทรดแบบไร้ความเสี่ยงในสภาวะตลาดจริงๆ ได้เช่นกัน!
ติดตามอัปเดตบทเรียน forex ใหม่ๆ ก่อนใคร ที่นี่ที่เดียว
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน