ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

อารมณ์ตลาด (Market Sentiment) คืออะไร? เข้าใจสภาวะตลาดก่อนตัดสินใจลงทุน

อารมณ์ตลาดเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความต้องการซื้อ (อุปสงค์ หรือ Demand) และความต้องการขาย (อุปทาน หรือ Supply) ภายในตลาด รวมถึงเป็นตัวการสำคัญในการขับเคลื่อนราคาในตลาด โดยเราสามารถตีความสภาวะอารมณ์ของตลาดได้ทั้งในขาขึ้น (Bullish) และขาลง (Bearish) แล้วแต่ว่าตลาดจะมีทิศทางเป็นยังไงในขณะนั้น ตัวอย่างเช่น อารมณ์ตลาดอาจอยู่ในเกณฑ์ลบหากราคามีการปรับตัวลง และแน่นอนว่าเมื่อตลาดอยู่ในเกณฑ์บวก ราคาก็จะมีการปรับตัวขึ้นนั่นเองครับ

ในการวิเคราะห์และจับทิศทางอารมณ์ของตลาด นักเทรดจะต้องอาศัยการใช้ อินดิเคเตอร์ทางเทคนิค บนแพลตฟอร์มเทรดของท่านเป็นเครื่องมือตัวช่วย เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าเครื่องมือทางเทคนิคเหล่านั้นจำเป็นสำหรับการเทรดอย่างมาก เนื่องจากใช้วิเคราะห์หาสัญญาณซื้อขายที่น่าเชื่อถือได้ ซึ่งมีโอกาสทำให้ท่านเทรดประสบความสำเร็จและได้กำไรตามที่ท่านต้องการ

None

ในบทความวันนี้ นอกจากจะอธิบายความหมายของอารมณ์ของตลาดแล้ว เรายังมีเครื่องมือเทรดยอดนิยมมาแนะนำ พร้อมแล้วไปทำความรู้จักอารมณ์ตลาด และอินดิเคเตอร์วิเคราะห์อารมณ์ตลาดกันเลย!

อารมณ์ตลาดคืออะไร?

อารมณ์ตลาด คือ สภาวะอารมณ์หรือความรู้สึกของนักลงทุนต่อตราสารการเงิน สินทรัพย์ หรือหลักทรัพย์นั้นๆ ซึ่งใช้เป็นตัวอธิบายมุมมองความคิดเห็นของนักลงทุนต่อสภาวะของตลาดที่สะท้อนออกมาในภาพรวมของจิตวิทยาทางการตลาดที่มีผลมาจากปัจจัยด้านราคาและความเคลื่อนไหวภายในตลาดนั่นเอง

หากสรุปโดยง่าย เมื่อราคาพุ่งขึ้น ก็เป็นตัวบ่งบอกว่าสภาวะอารมณ์ตลาดขณะนั้นอยู่ในเกณฑ์บวก และหากราคาร่วงฮวบ ก็หมายความว่าอารมณ์ของตลาดอยู่ในเกณฑ์ลบ โดยหลักการสำคัญเกี่ยวกับการจับทิศทางอารมณ์ตลาดที่ท่านควรรู้ ได้แก่:

  • อารมณ์ตลาด เป็นตัวบ่งบอกภาพรวมการลงทุนในสินทรัพย์นั้นๆ
  • อารมณ์ตลาดจะอยู่ในเกณฑ์บวกหรือลบ ขึ้นอยู่กับทิศทางราคาในตลาด
  • นักเทรดควรใช้อินดิเคเตอร์เชิงเทคนิคสำหรับการวิเคราะห์อารมณ์ตลาดโดยเฉพาะ

ทำความเข้าใจสภาวะอารมณ์ของตลาด

บางท่านอาจจะเคยได้ยินเขาเรียกกันอีกอย่างว่า “อารมณ์ของนักลงทุน” ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยพื้นฐานสำคัญสำหรับการลงทุน เนื่องจากอารมณ์ตลาดอาจมีผลต่อเครื่องมือเทรดเชิงเทคนิคได้เช่นกัน นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมนักวิเคราะห์สัญญาณเทรดและนักเทรด Day trade จึงมักเฝ้าติดตามอารมณ์ของตลาดอยู่เสมอ เพราะสภาวะอารมณ์ตลาดไม่เพียงแค่บ่งบอกความเคลื่อนไหวของตลาดในระยะสั้นๆ เท่านั้น แต่ยังคาดการณ์โอกาสในการสร้างกำไรได้อีกด้วยครับ ซึ่งแน่นแน่ผลลัพธ์การเทรดส่วนหนึ่งก็มาจากอารมณ์ของนักลงทุนที่มีต่อหลักทรัพย์ต่างๆ ในตลาดนี่แหละครับ

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

ยิ่งไปกว่านั้น อารมณ์ตลาดยังเป็นเครื่องมือตัวช่วยสำคัญสำหรับนักเทรดที่ใช้กลยุทธ์ Contrarian หรือตัดสินใจเทรดสวนทางกับตลาดนั่นเองครับ พูดง่ายๆ ก็คือจังหวะไหนที่มีแรงซื้อเข้ามาในตลาดจำนวนมาก เทรดเดอร์เหล่านั้นก็จะสวนทางตลาดโดยการเปิดออเดอร์ขายแทน

นักวิเคราะห์จะประเมินสภาวะอารมณ์ของตลาดทั้งในขาขึ้นและขาลง โดยมีหลักการง่ายๆ ว่า:

  1. เมื่อไหร่ที่มีแรงเทขายจำนวนมากในตลาด ราคาหุ้นก็จะร่วงตาม
  2. เมื่อมีแรงซื้อกลับเข้ามาในตลาดอีกครั้ง ราคาหุ้นก็จะพุ่งขึ้น

ถึงแม้ตลาดการเงินจะโดนกระตุ้นโดยสภาวะอารมณ์ของนักลงทุนอยู่บ่อยๆ แต่ก็ไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าอารมณ์ตลาดจะขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจขึ้นอยู่กับผลการดำเนินการทางธุรกิจของบริษัทเจ้าของหุ้นหรือหลักทรัพย์นั้นๆ ด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่พอจะชัดเจนก็คืออารมณ์ตลาดสามารถใช้บอกได้ว่ามีผู้คนให้ความสนใจกับหุ้นแต่ละตัวมากน้อยแค่ไหนได้อย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้ อย่าลืมใช้อินดิเคเตอร์ชนิดอื่นๆ ร่วมด้วยล่ะครับ

เครื่องมือชี้วัดสภาวะอารมณ์ของตลาด (Market Sentiment Indicators)

Indicator เชิงเทคนิคที่เรารวบรวมมาในวันนี้ คือเครื่องมือที่จะช่วยวัดสภาวะอารมณ์ของตลาดว่าจังหวะนั้นอารมณ์ตลาดอยู่ในเกณฑ์บวกหรือเกณฑ์ลบ โดยเครื่องมือเหล่านั้น ได้แก่:

  • VIX – หรือที่เรียกกันว่าตัวติดตาม “ดัชนีความกลัว (Fear index)” เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ร่วมกับเส้น Moving average เพื่อดูว่าระดับความกลัวนั้นสูงหรือต่ำ
  • High-Low Index – เป็นเครื่องมือที่ใช้เปรียบเทียบหุ้นที่ทำราคา High และ Low หลายๆ ระดับในตลอด 52 สัปดาห์ ซึ่งจะช่วยบอกสัญญาณพื้นฐานของดัชนี Nasdaq 100, S&P 500 และดัชนีตลาดตัวอื่นๆ ที่นักลงทุนนิยมลงทุนกันนั่นเอง
  • BPI - หรือ Bullish Percent Index เป็นดัชนีบอกระดับของตลาดขาขึ้น เพื่อหาดูว่าหุ้นตัวไหนที่อยู่ในขาขึ้นบ้าง โดยหากค่า BPI มากกว่า 80% หมายความว่าอารมณ์ของตลาดอยู่ในเกณฑ์บวกมากๆ แต่หากค่า BPI ต่ำกว่า 20% ก็หมายความว่าตลาดมีแรงเทขายมากจนเกินไป และอยู่ในเกณฑ์ลบ

เอาล่ะครับ เครื่องมือทางเทคนิคที่เราได้แนะนำในวันนี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของเครื่องมือเทรดทั้งหมด ยังมีอินดิเคเตอร์อีกหลายชนิดที่นักลงทุนควรติดตาม เช่น Moving average เป็นต้น ซึ่งก็แน่นอนว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือนักลงทุนจะต้องเข้าใจการอ่านและวิเคราะห์เครื่องมือเหล่านั้นให้ถูกต้อง และอย่าลืมใช้ข้อมูลปัจจัยพื้นฐานเป็นองค์ประกอบร่วมด้วย เพื่อหาสัญญาณเทรดทึ่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน