แนวโน้มความเสี่ยงยังคงไม่แน่นอนในช่วงเช้าวันอังคาร หลังจากไตรมาสแรกของปี 2025 เป็นไปในทิศทางบวกเล็กน้อย โดยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ผสมผสานในหลากหลายทิศทาง ประกอบกับถ้อยแถลงจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และการถกเถียงอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับมาตรการภาษีการค้าของทรัมป์ ล้วนเป็นปัจจัยที่เพิ่มความผันผวนให้กับตลาดก่อนถึง "วันปลดปล่อย" (Liberation Day) ของสหรัฐฯในวันที่ 2 เมษายนนี้
ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์จากตะวันออกกลางและรัสเซีย รวมถึงความระมัดระวังก่อนการเปิดเผยรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯในวันศุกร์ กำลังทำให้นักลงทุนเกิดความกังวล โดยเฉพาะหลังจากที่ไตรมาสแรกของปีนี้เป็นช่วงเวลาที่อ่อนแอสำหรับ ตลาดหุ้น ดอลลาร์สหรัฐฯ และคริปโทเคอร์เรนซี
ในขณะเดียวกัน สินทรัพย์ปลอดภัยแบบดั้งเดิมอย่างเช่น เงินเยน (JPY) และทองคำยังคงแข็งแกร่ง ขณะที่ ฝั่งแรงเทซื้อน้ำมันดิบกำลังเผชิญแรงกดดัน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันของ OPEC+ และนโยบาย "drill baby drill" ของทรัมป์ นอกจากนี้ ความตึงเครียดทางการเมืองในฝรั่งเศส การซ้อมรบทางทหารของจีนบริเวณพื้นที่ใกล้ไต้หวัน และการหารือระหว่างจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ซึ่งการท้าทายนโยบายภาษีของสหรัฐฯ ต่างก็เป็นปัจจัยที่ถ่วงความเชื่อมั่นของตลาด แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจจากจีนจะออกมาในเชิงบวก และมีความหวังว่าธนาคารกลางรายหลักหลายแห่งอาจผ่อนคลายนโยบายการเงินในอนาคต
แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลง แต่คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ยังปรับตัวขึ้นได้ยาก เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากความตึงเครียดทางการเมืองในฝรั่งเศส และดัชนีราคาสินค้าในร้านค้าปลีก BRC ของสหราชอาณาจักรในเดือนมีนาคมที่ออกมาต่ำกว่าที่คาด รวมไปถึง ท่าทีผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) อย่างไรก็ตาม ทั้งสองสกุลเงินยังคงสามารถปิดไตรมาสแรกและเดือนมีนาคมในแดนบวกเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ แม้จะเผชิญการปรับตัวลงในช่วงปลายเดือนก็ตาม
แม้ว่าคู่เงิน USDJPY จะปรับตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดในรอบสัปดาห์เมื่อวานนี้ แต่วันนี้กลับเผชิญการร่วงลงอีกครั้ง หลังจากปรับลดลงทั้งในไตรมาสแรกและตลอดเดือนมีนาคม โดยแรงกดดันต่อเงินเยนเป็นผลมาจากรายงาน Tankan ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ความคิดเห็นจากนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชิเงรุ อิชิบะ (Shigeru Ishiba) เกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าจ้าง ผนวกกับข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่แข็งแกร่ง และอัตราการว่างงานที่ลดลง นอกจากนี้ กระแสข่าวที่ว่า BoJ อาจลดการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGB) ยังเป็นปัจจัยที่กดดันเงินเยนอีกด้วย ขณะที่ บทบาทของ JPY ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยยังคงดึงดูดแรงเทซื้อจากนักลงทุน ส่งผลให้แรงเทขายคู่เงิน USDJPY ยังคงครองตลาด
เมื่อวันอังคาร ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 4.10% ตามการคาดการณ์ของตลาด ขณะที่ ผู้ว่าการ RBA มิเชลล์ บูลล็อค (Michele Bullock) ระบุว่า นโยบายการเงินในปัจจุบันยังคงอยู่ในระดับที่เข้มงวดเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ระบุว่า RBA ยังมีแนวโน้มคงท่าทีเชิงเข้มงวดทางการเงินต่อไป การตัดสินใจดังกล่าวช่วยให้คู่เงิน AUDUSD ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบสี่สัปดาห์ และสามารถปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบสามวัน นอกจากนี้ ตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตของออสเตรเลียในเดือนมีนาคมที่ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และยอดค้าปลีกที่คงที่ ยังเป็นปัจจัยที่สนับสนุนค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ล่าสุดความกังวลเกี่ยวกับมาตรการนำเข้าเนื้อวัวของจีน รวมถึงปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์และภาษีการค้า ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับแรงเทซื้อคู่เงิน AUDUSD
ปัจจัยลบจากความกังวลเกี่ยวกับจีน รวมถึงความเสี่ยงด้านภาษีการค้าและภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในตลาด ล้วนทำให้ค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD) และดอลลาร์แคนาดา (CAD) เผชิญแรงกดดันต่อเนื่อง โดยคู่เงิน NZDUSD ยังคงร่วงลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม และปรับลดลงเป็นวันที่สามติดต่อกัน ขณะเดียวกัน คู่เงิน USDCAD ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่สี่ โดยได้รับแรงหนุนจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและแคนาดา รวมถึงปัญหาทางการเมือง แม้ว่าประเทศแคนาดาจะยังคงมีตัวเลขการส่งออกน้ำมันดิบที่แข็งแกร่ง ซึ่งช่วยพยุงค่าเงิน CAD อยู่บ้าง
ราคาทองคำยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่สี่แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยได้รับแรงหนุนจากความไม่แน่นอนของตลาดและการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งทำให้นักลงทุนหันไปถือสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น นอกจากนี้ อุปสงค์ทองคำที่เพิ่มขึ้นจากจีน อินเดีย และญี่ปุ่น ยังช่วยหนุนราคาอย่างต่อเนื่อง โดยราคาทองคำเคลื่อนไหวที่ระดับ $3,135 หลังแตะระดับสูงสุดที่ราวๆ $3,149 ก่อนหน้านี้
ราคาน้ำมันดิบทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบห้าสัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากการโจมตีกลุ่มฮูตีที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านของสหรัฐฯ และคำเตือนจากอิหร่าน ในขณะเดียวกัน ความกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานตึงตัว อันเนื่องมาจากมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียและเวเนซุเอลา ก็ยังช่วยหนุนราคาน้ำมันเช่นกัน อย่างไรก็ตาม แรงกดดันจากความเป็นไปได้ที่ OPEC+ จะเพิ่มกำลังการผลิต การเรียกร้องของทรัมป์ที่ให้มีการขุดเจาะน้ำมันเพิ่มขึ้น และความต้องการพลังงานที่อาจลดลงจากผลกระทบของนโยบายภาษีการค้าทั่วโลก ยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อแรงเทซื้อในตลาดน้ำมัน
Bitcoin (BTCUSD) และ Ethereum (ETHUSD) ยังคงรักษาระดับการฟื้นตัวจากวันก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม นักลงทุนในตลาดคริปโตยังคงระมัดระวัง เนื่องจากใกล้ถึงวัน “Liberation Day” ของประธานาธิบดีทรัมป์ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อตลาด นอกจากสภาวะความเสี่ยงในภาพรวมแล้ว ปัจจัยเฉพาะในอุตสาหกรรมคริปโต เช่น กระแสเงินทุนที่ไหลเข้าสู่การ Staking ที่เพิ่มขึ้น และความคาดหวังต่อมาตรการเชิงบวกจากทรัมป์ที่เริ่มแผ่วลง ยังเป็นปัจจัยที่สร้างความไม่แน่นอนเพิ่มเติมในตลาด อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเชิงบวกในตลาด โดยมีรายงานว่า วุฒิสมาชิกสหรัฐฯกำลังเตรียมออกกฎหมายให้ชาวอเมริกันสามารถนำเงินกองทุนเพื่อการเกษียณไปลงทุนใน Bitcoin และคริปโทเคอร์เรนซีอื่นๆได้ ซึ่งอาจช่วยสร้างแรงหนุนให้ตลาดในระยะต่อไป
นักลงทุนเตรียมโฟกัสไปที่การรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน ดัชนี PMI ภาคการผลิต จาก ISM ของสหรัฐฯ และรายงานตำแหน่งงานว่าง JOLTS เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ หลังจากตลาดมีความผันผวนในช่วงสิ้นไตรมาสแรกของปี 2025 นอกจากนี้ พาดหัวข่าวเกี่ยวกับมาตรการภาษีของทรัมป์ และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัสเซีย อิหร่าน และจีน ที่มีต่อสหรัฐฯ จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่กำหนดทิศทางของตลาด
ดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มปิดวันที่ 1 เมษายนในแดนบวก โดยได้รับแรงหนุนจากบรรยากาศการซื้อขายในตลาดที่ระมัดระวัง ซึ่งอาจกดดันสกุลเงินหลักอื่นๆ ราคาน้ำมันดิบ และสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans อย่างไรก็ตาม เงินเยน (JPY) และราคาทองคำอาจยังคงแข็งแกร่ง ในขณะที่ ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีและตลาดหุ้นอาจเผชิญแรงกดดันต่อเนื่องก่อนการประกาศมาตรการภาษีของทรัมป์ในวันที่ 2 เมษายน และการรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯในวันศุกร์นี้
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด!